วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ


พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายภาพร่วมกับ
เจ้าเมืองสิงคโปร์และแขกต่างประเทศณ ค่ายหลวงหว้ากอ

วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นวันสำคัญของไทยและมีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย กำหนดให้ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2411 ปัจจุบันมีการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ขึ้นเป็นประจำทุกปี

รัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติเนื่องจากวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงที่หว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ตรงเกาะจานขึ้นไปถึงปราณบุรี และลงไปถึง จ.ชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมือง
สิงคโปรเดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์
ผลการคำนวณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแม่นยำมาก เซอร์แฮรี ออด บันทึกเหตุการณ์ไว้ซึ่งต่อมาหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้แปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2518 ว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรป
ได้คำนวณไว้"

สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคมเป็นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" วันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2511 หลายหน่วยงาน เช่น สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ กรมอุทกศาสตร์ กรมชลประทาน กรมแผนที่ทหาร กรมอุตุนิยมวิทยา กรมไปรษณีย์โทรเลข ฯลฯ ได้ร่วมกันจัดงานขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น


คำขวัญวันวิทยาศาสตร์

คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

2532      พิทักษ์สิ่งแวดล้อมของชาติ  ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2533      เพิ่มคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2534      ขจัดมลพิษทุกชีวิตจะปลอดภัย
2535      เปลี่ยนขาดทุนให้เป็นกำไร  โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2536      วิทยาศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจ  เพิ่มคุณค่าชีวิต  พิทักษ์สิ่งแวดล้อม
2537      ขจัดปัญหาน้ำของชาติ  ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2538      เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวไกล  เศรษฐกิจไทยมั่นคง
2539      วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล  พัฒนาชาติไทยให้ก้าวหน้า
2540      พัฒนาคน  พัฒนาชาติ  ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2541      พัฒนาเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์  พัฒนาชาติด้วยภูมิปัญญาไทย
2542      วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล  เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตไทยที่ยั่งยื่น
2543      พัฒนาคน  พัฒนาชาติ  ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2544      วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี    เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย
2545      วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี    เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย
2546      เส้นทางแห่งการค้นพบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  คุณค่าแห่งภูมิปัญญา  เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
2547      เศรษฐกิจของชาติมีปัญหา  วิทยาศาสตร์มีคำตอบ
2548      วิทยาศาสตร์คือความรู้สู่ความสำเร็จ
2549      เศรษฐกิจพอเพียง  เคียงคู่ไทย ก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2550      วิทยาศาสตร์สร้างปัญญาในสังคม
2551      วิทยาศาสตร์สร้างชาติ  สร้างอนาคต
2552      วิทยาศาสตร์ก้าวไกล  นำไทยก้าวหน้า
     2553  จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์



พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 





พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 ตุลาคม
 พ.ศ. 2347 ในรัชกาลที่ 1 ตรงกับวันขึ้น 14 ค่ำ เดือน 11 ปีชวด จุลศักราช 1166 เป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ 2 (ขณะนั้นดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงอิศรสุนทร) และเป็นโอรสพระองค์ที่ 2 ในสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
ระหว่างที่ทรงผนวชอยู่ในสมณเพศเป็นเวลา 27 ปี ขณะที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ขึ้นครองราชย์ เจ้าฟ้ามงกุฎทรงมีกรณียกิจหลายด้านซึ่งเป็นประโยชน์ต่อมาในอนาคต ทรงศึกษาภาษามคธ (บาลี) จนสามารถแปลพระปริยัติธรรมได้อย่างแม่นยำ ทรงปฏิรูปพระพุทธศาสนาด้วยการตั้งคณะสงฆ์นิกายใหม่ คือ ธรรมยุติกนิกาย การเสด็จออกธุดงค์ซึ่งทำให้ทรงพบหลักศิลาจารึก
ทรงใช้เวลาศึกษาภาษาละตินและภาษาอังกฤษ รวมทั้งศาสตร์แขนงต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นประวัติศาสตร์ การเมือง วรรณคดี ปรัชญา ไปจนถึง เรขาคณิต ตรีโกณมิติ วิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะดาราศาสตร์ที่ทรงสนพระทัยเป็นพิเศษ หลักฐานอย่างหนึ่งที่ทรงนำความรู้เรื่องดาราศาสตร์มาใช้กับการกำหนดวันสำคัญทางศาสนาซึ่งมีขึ้นตามปฏิทินจันทรคติ คือ พระราชาธิบายเรื่องอธิกมาส อธิกวาร และปักขคณนาวิธี ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการคำนวณปฏิทินจันทรคติแบบใหม่ที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นด้วยพระองค์เอง มีความแม่นยำถูกต้องตรงกับดวงจันทร์บนท้องฟ้ายิ่งกว่าปฏิทินที่ใช้อยู่เดิม
ความสนพระทัยในดาราศาสตร์มองเห็นได้จากการสั่งซื้อตำราดาราศาสตร์ กล้องโทรทรรศน์ และแผนที่ดาว จากต่างประเทศ เครื่องราชบรรณาการส่วนมากเป็นหนังสือและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ เช่น เครื่องชั่ง ลูกโลก เทอร์มอมิเตอร์ เครื่องวัดความดันอากาศ สมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ได้ถวายกล้องโทรทรรศน์ ซึ่ง เซอร์ จอห์น เบาริง ราชทูตแห่งสหราชอาณาจักร ได้บันทึกว่า "กล้องที่นำมาถวายมีคุณภาพต่ำกว่ากล้องโทรทรรศน์ที่ทรงมีอยู่แล้ว"
เซอร์ จอห์น เบาริง ยังเขียนเล่าไว้ว่า ห้องส่วนพระองค์เป็นห้องที่มีเครื่องมือวิทยาศาสตร์ เช่นเดียวกับห้องนักปราชญ์ราชบัณฑิตที่มั่งคั่งในทวีปยุโรปสมัยนั้น หมอเหา (เฮาส์) ได้บันทึกรายละเอียดไว้จากที่เขาได้เข้าเฝ้าที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อครั้งยังทรงผนวชอยู่ว่า "ข้าพเจ้าได้เหลียวมองไปรอบๆ ห้อง และเห็นพระคัมภีร์ไบเบิลของสมาคม เอ. บี. และพจนานุกรมเวบสเตอร์ตั้งเคียงบนชั้นบนโต๊ะเขียนหนังสือ นอกจากนั้นยังมีตารางดาราศาสตร์และการเดินเรือวางอยู่ด้วย ส่วนข้างบนอีกโต๊ะหนึ่งมีแผนผังอุปราคาที่จะเกิดขึ้นครั้งต่อไป มีรายการคำนวณเขียนไว้ด้วยดินสอ นอกจากนั้นยังมีแบบลอกแผนที่ของนายชานเดลอร์วางอยู่ด้วย"
ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2394 นั้นเป็นยุครุ่งเรืองของลัทธิจักรวรรดินิยม ทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสแผ่อิทธิพลครอบคลุมประเทศต่างๆ ในแถบนี้ แต่สายพระเนตรที่กว้างไกลและพระปรีชาสามารถด้านภาษาและการเมืองระหว่างประเทศ ทำให้สยามเป็นเพียงประเทศเดียวในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่รอดพ้นจากการการเข้ายึดครอง

ดาวหาง





ตลอดพระชนม์ชีพของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีดาวหางหลายดวงมาปรากฏเหนือท้องฟ้า ที่สว่างมากมีอยู่ 3 ดวง ดวงแรกชื่อดาวหางฟลูเกอร์กูส มาให้เห็นขณะมีพระชนมายุ 8 พรรษา ดาวหางดวงที่ 2 ชื่อ ดาวหางโดนาติ ค้นพบโดยนักดาราศาสตร์ชาวอิตาเลียนในปี พ.ศ. 2401 มีขนาดใหญ่สวยงาม ขณะนั้นคนไทยและชาวตะวันออกยังมีความเชื่อเรื่องโชคลางและภัยพิบัติจากสิ่งแปลกประหลาดในท้องฟ้า โดยเฉพาะดาวหางที่เป็นเหมือนสัญญาณบอกเหตุร้าย
ทรงมีพระราชนิพนธ์ประกาศเตือนไม่ให้เกิดการแตกตื่น ชื่อว่า "ประกาศดาวหางขึ้นอย่าให้วิตก" ตอนหนึ่งว่า "ดาวดวงนี้ชาวยุโรปได้เห็นมาแล้วหลายเดือน ดาวอย่างนี้มีคติแลทางที่ดำเนินยาวไปในท้องฟ้าไม่เหมือนดาวพระเคราะห์อื่น ดาวพระเคราะห์ทั้งปวงเป็นของสัญจรไปนานหลายปีแล้วก็กลับมาได้เห็นในประเทศข้างนี้อีก เพราะเหตุนี้อย่าให้ราษฎรทั้งปวงตื่นกันแลคิดวิตกเล่าลือไปต่างๆ ด้วยว่ามิใช่จะได้เห็นในพระนครนี้แลเมืองที่ใกล้เคียงเท่านั้นหามิได้ ย่อมได้เห็นทุกบ้านทุกเมือง
 ทั่วพิภพอย่างได้เห็นนี้แล"
ดาวหางดวงที่ 3 ชื่อดาวหางเทบบุท มาเยือนโลกในปี พ.ศ. 2404 และมีความสว่างมากกว่าดาวหางโดนาติเสียอีก ทรงพระราชนิพนธ์ "ประกาศดาวหางปีระกาตรีศก" พร้อมทั้งปัดเป่าความงมงายที่มีอยู่ในสังคม ตอนหนึ่งว่า "ผู้ใดปฏิบัติตัวไม่ดีไม่มียาที่จะแก้ป้องกันกินทาซึมซาบอยู่กับกาย เป็นผู้ไม่สบายมีโรคภัยเล็กน้อยที่เป็นช่องจะให้พิษเช่นนั้น แล่นเข้าไปในกายให้เกิดเจ็บไข้ได้ความไข้ก็ต้องแก่ผู้นั้นไม่เลือกหน้าว่าใคร ก็ดาวหางมาบนฟ้าโกรธขึ้งหึงษาพยาบาทอาฆาตแค้นอะไรอยู่กับเจ้านาย มาแล้วจะได้มาตรงใส่เอาเจ้านายทีเดียวไม่เห็นจริงด้วย"


หนังสือดาราศาสตร์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงใช้ศึกษาวิชาดาราศาสตร์ด้วยพระองค์เอง (จากสำนักราชเลขาธิการ ในพระบรมมหาราชวัง)

เวลามาตรฐาน

พระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ การสถาปนาเวลามาตรฐานของประเทศ ซึ่งขณะนั้นยังไม่มีการกำหนดให้เส้นลองจิจูดที่ผ่านหอดูดาวกรีนิชในอังกฤษเป็นเส้นเมริเดียนหลักของโลก แต่กลับมีหลักฐานว่าพระจอมเกล้าฯ ได้ทรงใช้การสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์สำหรับกำหนดเวลามาตรฐานของประเทศไทย โปรดฯ ให้สร้างพระที่นั่งภูวดลทัศไนย ซึ่งเป็นพระที่นั่งทรงยุโรปสูง 5 ชั้น บนยอดเป็นหอนาฬิกามีนาฬิกาขนาดใหญ่ทั้งสี่ด้าน แต่งตั้งพนักงานที่คอยวัดตำแหน่งดวงอาทิตย์ในเวลากลางวัน และดวงจันทร์ในเวลากลางคืน เพื่อปรับนาฬิกาให้เที่ยงตรงอยู่เสมอ

สุริยุปราคาเต็มดวง




เหตุการณ์ที่เป็นที่กล่าวขวัญและเป็นที่มาของวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ คือ ปรากฏการณ์สุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 หลักฐานจากประกาศหลายฉบับแสดงว่าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงศึกษาการคำนวณเพื่อพยากรณ์ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นสุริยุปราคา จันทรุปราคา ดาวพุธผ่านหน้าดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์บังดาวเคราะห์ เป็นต้น ซึ่งถือเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลามาก ไม่ได้คำนวณได้รวดเร็วอย่างในปัจจุบัน
ทรงประกาศผลการคำนวณการเกิดสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนี้ล่วงหน้า 2 ปี และเชิญคณะสำรวจทั้งจากฝรั่งเศส อังกฤษ และสิงคโปร์ เข้ามาร่วมสังเกตการณ์ ณ หว้ากอ ต.คลองวาฬ อ.เมืองฯ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บังมิดดวงอยู่นานถึง 6 นาที 46 วินาที แต่แล้วการเสด็จทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงครั้งนั้นก็ทำให้พระองค์ทรงประชวรเนื่องจากได้รับเชื้อไข้มาลาเรีย และเสด็จสวรรคตในวันที่ 1 ตุลาคม
ในปัจจุบันนี้ ประชาคมดาราศาสตร์ในระดับสากลที่ศึกษาด้านสุริยุปราคา ยกย่องพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วยการกล่าวถึงสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อปี ค.ศ. 1868 ว่าเป็น "King of Siam's Eclipse"


ความหมายของวิทยาศาสตร์





วิทยาศาสตร์  หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว
การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้


                                                                       


คำว่า science ในภาษาอังกฤษ ซึ่งแปลว่า วิทยาศาสตร์นั้น มาจากภาษาลาติน คำว่า scientia ซึ่งหมายความว่า ความรู้ ในคริสต์ศตวรรษที่ 17 ฟรานซิส เบคอนได้พยายามคิดค้นวิธีมาตรฐานในการอุปนัยเพื่อนำมาใช้สร้างทฤษฎีหรือกฎต่างๆ ทางวิทยาศาสตร์จากข้อมูลที่ทดลองหรือสังเกตได้จากธรรมชาติ
โดยทั่วไปเราถือกันว่า วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เริ่มต้นในยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ โดยมี "บิดาแห่งวิทยาศาสตร์สมัยใหม่" คือ กาลิเลโอ กาลิเลอี เป็นผู้ถอนรื้อและปรับปรุงแนวความคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยเก่า ที่ยึดกับแนวความคิดของอริสโตเติลทิ้งไป. ณ ขณะนั้น กาลิเลโอได้กำหนดลักษณะสำคัญของวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ไว้ดังนี้
  • ทำนายสิ่งที่เกิดขึ้นในปรากฏการณ์ธรรมชาติได้ โดยที่ไม่จำเป็นต้องอธิบายสาเหตุได้ เช่น ในขณะที่ยังไม่มีความรู้เรื่องแรงโน้มถ่วงนั้น กาลิเลโอไม่สนใจที่จะอธิบายว่า "ทำไมวัตถุถึงตกลงสู่พื้นดิน ?" แต่สนใจคำถามที่ว่า "เมื่อมันตกแล้ว มันจะถึงพื้นภายในเวลาเท่าใด ?"
  • ใช้คณิตศาสตร์เพื่อเป็นภาษาหลักของวิทยาศาสตร์ (ดูหัวข้อ คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์)
ในเวลาต่อมา ไอแซก นิวตันได้ต่อเติมรากฐานและระบบระเบียบของแนวคิดเหล่านี้ และเป็นต้นแบบสำหรับสาขาด้านอื่นๆ ของวิทยาศาสตร์
ก่อนหน้านั้น, ในปี ค.ศ. 1619 เรอเน เดส์การตส์ ได้เริ่มเขียนความเรียงเรื่อง Rules for the Direction of the Mind (ซึ่งเขียนไม่เสร็จ). โดยความเรียงชิ้นนี้ถือเป็นความเรียงชิ้นแรกที่เสนอกระบวนการคิดเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่และปรัชญาสมัยใหม่. อย่างไรก็ตามเนื่องจากเดส์การตส์ได้ทราบเรื่องที่กาลิเลโอ ผู้มีความคิดคล้ายกับตนถูกเรียกสอบสวนโดย โป๊ปแห่งกรุงโรม ทำให้เดส์การตส์ไม่ได้ตีพิมพ์ผลงานชิ้นนี้ออกมาในเวลานั้น
การพยายามจะทำให้ระเบียบวิธีทางวิทยาศาสตร์เป็นระบบนั้น ต้องพบกับปัญหาของการอุปนัย ที่ชี้ให้เห็นว่าการคิดแบบอุปนัย (ซึ่งเริ่มต้นโดยฟรานซิส เบคอน) นั้น ไม่ถูกต้องตามหลักตรรกศาสตร์. เดวิด ฮูมได้อธิบายปัญหาดังกล่าวออกมาอย่างละเอียด คาร์ล พอพเพอร์ในความคิดลักษณะเดียวกับคนอื่นๆ ได้พยายามอธิบายว่าสมมติฐานที่จะใช้ได้นั้นจะต้องทำให้เป็นเท็จได้ (falsifiable) นั่นคือจะต้องอยู่ในฐานะที่ถูกปฏิเสธได้ ความยุ่งยากนี้ทำให้เกิดการปฏิเสธความเชื่อพื้นฐานที่ว่ามีระเบียบวิธี 'หนึ่งเดียว' ที่ใช้ได้กับวิทยาศาสตร์ทุกแขนง และจะทำให้สามารถแยกแยะวิทยาศาสตร์ ออกจากสาขาอื่นที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์ได้
ปัญหาเกี่ยวกระบวนการปฏิบัติของวิทยาศาสตร์มีความสำคัญเกินขอบเขตของวงการวิทยาศาสตร์ หรือวงการวิชาการ ในระบบยุติธรรมและในการถกเถียงปัญหาเกี่ยวกับนโยบายสาธารณะ การศึกษาที่ใช้วิธีการนอกเหนือจาก แนวปฏิบัติทางวิทยาศาสตร์ที่เป็นที่ยอมรับ จะถูกปฏิเสธ และถูกจัดว่าเป็น "วิทยาศาสตร์ขยะ" หรือศาสตร์ปลอม





คำว่า "โมเดล", "สมมติฐาน", "ทฤษฎี", และ"กฎทางกายภาพ" มีความหมายในทางวิทยาศาสตร์ไม่เหมือนกับที่ใช้กันทั่วไป นักวิทยาศาสตร์ใช้คำว่า โมเดล เพื่อหมายถึงคำอธิบายปรากฏการณ์บางอย่าง ที่สามารถนำไปใช้สร้างคำทำนายซึ่งตรวจสอบความถูกต้องได้ด้วยการทดลองหรือการสังเกต ในขณะที่ สมมติฐาน คือความเชื่อที่ยังไม่ได้รับการสนับสนุนที่มากพอ และยังไม่ถูกพิสูจน์ว่าผิดพลาดด้วยการทดลอง ส่วน กฎทางกายภาพ หรือ กฎธรรมชาติ นั้น คือคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ที่มีนัยทั่วไป ที่วางรากฐานอยู่บนผลของการสังเกตเชิงประจักษ์
ผู้คนทั่วไปมักเข้าใจว่า ทฤษฎี นั้นหมายถึงแนวคิดที่ยังไม่มีบทพิสูจน์หรือข้อสนับสนุนที่ชัดเจน อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์มักใช้คำว่าทฤษฎี เพื่อกล่าวถึงกลุ่มก้อนของแนวคิดที่ทำนายผลบางอย่าง การกล่าวว่า "ผลแอปเปิลหล่น" คือการระบุความจริง ในขณะที่ทฤษฎีแรงโน้มถ่วงของนิวตันคือกลุ่มของแนวคิดที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายได้ว่าทำไมผลแอปเปิลถึงหล่น และทำนายการหล่นของวัตถุอื่นๆ ได้
ทฤษฎีที่ผ่านการทดสอบอย่างละเอียดถี่ถ้วนเป็นเวลานาน พร้อมกับมีหลักฐานจำนวนมากรองรับ จะถูกพิจารณาว่า "พิสูจน์แล้ว" ในความหมายทางวิทยาศาสตร์ โมเดลที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปเช่น ทฤษฎีอาทิตย์เป็นศูนย์กลางและทฤษฎีอะตอมนั้น มีหลักฐานที่มั่นคงจนยากจะเชื่อได้ว่าจะทฤษฎีจะผิดได้อย่างไร ส่วนทฤษฎีอื่นๆ เช่น ทฤษฎีสัมพัทธภาพ, คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือทฤษฎีวิวัฒนาการนั้น ผ่านการทดสอบที่เคร่งครัดอย่างมากมายโดยไม่พบข้อขัดแย้ง แต่ก็ยังเป็นไปได้ที่สักวันหนึ่งทฤษฎีเหล่านี้อาจถูกล้มล้างลง ทฤษฎีใหม่ๆ เช่นทฤษฎีสตริงอาจจะเป็นแนวคิดที่น่าเชื่อถือ แต่ก็ยังคงต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบที่หนักหน่วงเช่นเดียวกัน
นักวิทยาศาสตร์ไม่เคยกล่าวอ้างถึงความรู้สัมบูรณ์ ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์แม้จะถูกพิสูจน์แล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะถูกปฏิเสธได้ถ้าพบหลักฐานเพิ่มเติม แม้กระทั่งทฤษฎีพื้นฐานเอง วันหนึ่งก็อาจกลายเป็นทฤษฎีที่ไม่สมบูรณ์ได้ ถ้ามีผลการสังเกตใหม่ๆ นั้นขัดแย้งกับทฤษฎีเหล่านั้น
กลศาสตร์นิวตันที่ค้นพบโดยไอแซก นิวตันเป็นตัวอย่างที่โด่งดัง ของกฎที่ถูกพบในภายหลังว่าอาจไม่ผิดพลาด ในกรณีที่การเคลื่อนที่นั้นมีความเร็วเข้าใกล้ความเร็วแสง หรือวัตถุอยู่ใกล้กับสนามแรงโน้มถ่วงที่แรงมากๆ ในกรณีที่นอกเหนือจากนี้ กฎของนิวตันยังคงเป็นโมเดลที่เยี่ยมยอดของเคลื่อนที่และแรงโน้มถ่วง เนื่องจากทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปนั้นครอบคลุมปรากฏการณ์ทั้งหมดที่กฎของนิวตันสามารถใช้ได้ และยังสามารถใช้ในกรณีอื่นๆ ได้อีก ทฤษฎีนี้จึงถูกจัดว่าเป็นทฤษฎีที่มีความถูกต้องมากกว่า
  • มีอีกความเชื่อว่าวิทยาศาสตร์พัฒนามาจากเวทมนตร์
ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของวิทยาศาสตร์ในประวัติศาสตร์มนุษย์ ได้สร้างประเด็นคำถามทางปรัชญาไว้มากมาย. โดยนักปรัชญาวิทยาศาสตร์ได้ตั้งคำถามทางปรัชญาที่สำคัญดังนี้
  • สิ่งใดเป็นตัวแบ่งแยกความรู้ทางวิทยาศาสตร์กับความรู้ประเภทอื่นๆ เช่น โหราศาสตร์
  • ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความจริงหรือไม่
  • ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เชื่อถือได้แค่ไหน
  • วิทยาศาสตร์มีประโยชน์จริงๆ หรือไม่
  • ศีลธรรมของวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม คือรูปแบบใด
ประเด็นเหล่านี้ยังเป็นที่ถกเถียงในหมู่นักปรัชญาวิทยาศาสตร์อย่างมากในปัจจุบัน และไม่มีความเห็นใดที่ได้รับการยอมรับทั่วไปอีกเลยทีเดียว


ผลงานของนักวิทยาศาสตร์


 
โทรเลขเครื่องแรกของโลก

จากการออกแบบของ แซมมวล มอร์ส โดยออกแบบขึ้นในปี ค.ศ.1832





 



หลอดไฟของเอดิสัน

เป็นแบบที่ประดิษฐ์โดย โทมัส เอลวา เอดิสัน โดยการใช้ไส้คาร์บอนบางๆใส่ลงไปในหลอดแก้วและให้อากาศผ่านเข้า


เครื่องยนต์ของเครื่องบินลำแรกของโลก
ผลงานของ ออร์วิล และ วิลเบอร์ ไรท์ มีชื่อว่า"คิตตี้ ฮอค"
เป็นเครื่องยนต์ขนาด12แรงม้าซึ่งมีใบพัดสองข้างแทบไม่น่าเชื่อว่ามัน
จะทำให้เครื่องบินบินได้


หีบเสียงที่ใช้กระบอกเสียงอันแรกของโลก
ประดิษฐ์โดย โทมัส เอลวา เอดิสัน โดยประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ.1877



เครื่องอัดและกระจายเสียง
สิ่งประดิษฐ์อีกชิ้นของ โทมัส เอลวา เอดิสัน ประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ.1877 แผ่นเสียงเป็นโลหะรูปทรงกระบอกที่เคลือบด้วยตะกั่ว


โทรศัพท์เครื่องแรกของโลก
ประดิษฐ์ขึ้นโดย อเล็กซานเดอร์ เกรแฮม เบลล์ โดยประดิษฐ์ขึ้นในปี ค.ศ.1876
เครื่องฉายรังสีเอ็กซ์เรย์
เครื่องฉายรังสีเอ็กซ์เรย์ในสมัยก่อน ประดิษฐ์ขึ้นโดยวิลเฮลม์ คอนราด รีนต์เกิน ซึ่งช่วยในการผ่าตัดให้ได้ผลดียิ่งขึ้น



 เข็มทิศสำหรับใช้ในการเดินเรือ
เข็มทิศสำหรับใช้ในการเดินเรือนี้ประดิษฐ์ขึ้นโดย วิลเลียม ทอมสัน เควิน
ในปี ค.ศ.1892 ซึ่งถือได้ว่าเป็นงานชิ้นเอกในชีวิตของเขา





เครื่องวัดกระแสไฟฟ้า
ประดิษฐ์ขึ้นโดย อเล็กซานโดร โวลต้า ชาวอิตาลีซึ่งเป็นผู้ค้นพบ กระแสไฟฟ้าเป็นคนแรก เขาได้รับการยกย่องโดยการใช้ชื่อของเขา เป็นชื่อเรียกหน่วยวัดแรงเคลื่อนไฟฟ้าคือ "โวลต์"


เครื่องคิดเลขเครื่องแรกของโลก

เครื่องคิดเลขเครื่องแรกของโลก สร้างโดยชาวฝรั่งเศษชื่อ เบลส ปาสกัล
ในปีค.ศ.1642สร้างโดยอาศัยระบบเกียร์และลูกล้อ





เครื่องรับโทรทัศน์เครื่องแรกของโลก

เครื่องรับโทรทัศน์เครื่องแรกของโลกประดิษฐ์ขึ้นโดย จอห์น เบียร์ด โดยใช้วงล้อเป็นจุดศูนย์กลางที่ใช้หมุนแกนล้อภาพจะปรากฏทางจอแก้วทางขวามือของภาพ



หุ่นจำลองรถจักรไอน้ำ

หุ่นจำลองรถจักรไอน้ำ "ร็อกเกต" ซึ่งได้รับการพัฒนาขึ้นโดย ยอร์ช สตีเฟนสัน ซึ่งถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการรถไฟ


นักวิทยาศาสตร์ของโลก


อัลเบิรต์ ไอสไตน์
 


ประวัติ
ไอน์สไตน์เกิดที่เมืองอูลม์ ประเทศ เยอรมันนี เมื่อ วันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1879 ปีต่อมาครอบครัวของเขาก็ได้ย้ายจากเมืองอูลม์ไปอยู่มิวนิค เขามีจิตใจรักทางดนตรีและสามารถสีไวโอลินได้ดีเมื่อมีอายุเพียง 6ปี พอมีอายุได้ 12ปี เขาก็สามารถเรียนรู้คณิตศาสตร์ได้ด้วยตนเอง ด้วยความที่เขาเรียนเก่งทางคณิตศาสตร์และฟิสิกส์เขาจึงสอบเข้าเรียนที่ The Federal Institute of Technology ในซูริคประเทศสวิสเซอร์แลนด์ หลังจากจบการศึกษาในปี 1900ไอน์สไตน์ก็ทำงานเป็นครูสอนทาง ไปรษณีย์อยู่2ปีจึงได้ทำงานเป็นผู้เชี่ยงชาญทางเทคโนโลยีในสถาบัน แห่งหนึ่งในกรุงบอร์น ไอน์สไตน์ได้รับรางวัลสาขาฟิสิกส์ในปี1921 ขณะที่เขาอยู่ในสหรัฐอเมริกาเป็นช่วงเวลาที่ฮิตเลอร์เรืองอำนาจและทำ การกวาดล้างชาวยิวไอน์สไตน์ซึ่งมีเชื้อสายยิวจึงถูกปลดออกจากการเป็น พลเมืองชาวเยอรมันเขาจึงตกลงใจจะอยู่ในสหรัฐโดยทำงานอยู่ที่สถาบัน การศึกษาในปรินซ์ตัน นิวเจอร์ซี และได้สัญชาติอเมริกันในปี1941 ไอน์สไตน์ ได้รับการยกย่องอย่างสูงก็โดยเหตุที่เขาให้ทฤษฎีแห่งความ สัมพันธ์ซึ่งเป็นทฤษฎีโดยเฉพาะสำหรับปฏิบัติกับวิชาเคลื่อนที่ของไฟฟ้า และทรรศนะศาสตร์ นอกจากนี้เขายังได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความสำคัญ อันเป็นประโยชน์ต่อทฤษฎี Quantum และทฤษฎีทั่วไปที่เกี่ยวกับ ความโน้มถ่วง ตลอดชีวิตของเขาได้ทำคุณประโยชน์ให้แก่วงการ วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันไว้อย่างมากมาย ไอน์สไตน์ถึง แก่กรรมเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 1955
ผลงาน
-เป็นผู้ให้กำเนิด "ระเบิดปรมาณู" -เป็นเจ้าของทฤษฎีแห่งความสัมพันธ์

หลุยส์ ปาสเตอร์
 
 
ประวัติ

หลุยส์ ปาสเตอร์ เกิดในปี ค.ศ.1822 ที่เมืองเล็กๆในประเทศฝรั่งเศส บิดาของเขาต้องการให้หลุยส์ เป็นครูจึงส่งเข้าไปเรียนที่กรุงปารีส จนสำเร็จการศึกษาและได้เป็นอาจารย์สอนมหาวิทยาลัยเมื่ออายุได้32ปี จุลชีพเป็นสิ่งที่ปาสเตอร์สนใจมากทุกคนรู้ว่าเนื้อจะเน่าเปื่อยหากทิ้ง เนื้อไว้กลางแจ้งและทุกคนสามารถมองเห็นตัวจุลชีพในเนื้อได้ด้วย กล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยายมากแต่ไม่มีใครรู้ว่าจุลชีพมาจากที่ใด นักวิทยาศาสตร์หัวโบราณคิดว่าเนื้อเน่าทำให้เกิดพวกมัน แต่ปาสเตอร์ ไม่ค่อยแน่ใจนัก เขากลับไปยังวิทยาลัยที่เคยเรียนในกรุงปารีสซึ่งเขา ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้อำนวยการทางวิชาวิทยาศาสตร์ เขาใช้เวลา ทั้งหมดของเขาทำการค้นคว้าเรื่องจุลชีพ ในที่สุดหลุยส์ก็ค้นพบว่า จุลชีพนั้นเกิดจากฝุ่นละอองที่ลอยอยู่ในอากาศมิใช่มาจากอาหารที่ บูดเน่า เขาพิสูจน์โดยการนำเอาขวดซุปเนื้อขึ้นไปบนภูเขาแอลป์ซึ่ง มีอากาศบริสุทธิ์และไม่มีฝุ่นละอองเขาเปิดขวดเหล่านั้นและปล่อยทิ้งไว้ เขาพูดถูกน้ำซุปไม่เสีย บนหิ้งต่างๆของพิพิธภัณฑ์ปาสเตอร์ในกรุงปารีส มีขวดปิดไว้ซึ่งจัดทำขึ้นโดยปาสเตอร์น้ำซุปเนื้อในนั้นยังคงไม่บูดเน่า หลังจากนานกว่าร้อยปี การค้นคว้านี้ทำให้เกิดอาหารกระป๋องที่เรา รู้จักกันทุกวันนี้ ต่อมาปาสเตอร์ได้ทำการทดลองเพื่อหาวิธีรักษา โรคกลัวน้ำ หลังจากทำการทดลองที่เสี่ยงอันตรายหลายครั้งเขาก็ ประสบผลสำเร็จซึ่งการค้นพบวิธีรักษาโรคกลัวน้ำใหความหวังแก่ ผู้คนในหลายประเทศ หลุยส์ ปาสเตอร์ถึงแก่กรรมในปี ค.ศ.1895 มีผู้คนมากมายโศกเศร้าต่อการเสียชีวิตของเขา เขาไม่เพียงแต่เป็น นักวิทยาศาสตร์เท่านั้นแต่ยังเป็นบุคคลสำคัญอีกด้วย
ผลงาน
-ค้นพบวิธีรักษาสิ่งของไม่ให้เน่าเสียโดยวิธีพาสเจอร์ไรซ์ -ค้นพบวัคซีนในการรักษาโรคพิษสุนัขบ้า



โทมัส เอดิสัน



 

ประวัติ
โทมัส เอลวา เอดิสัน เกิดในปี ค.ศ.1847 ที่มลรัฐโอไฮโอ สหรัฐอเมริกา เมื่อเข้าโรงเรียนครูกล่าวว่าเขาไม่สามารถเรียนคณิตศาสตร์ได้ ดังนั้นหลังจากเรียนอยู่ได้3เดือนบิดามารดาก็ต้องเอาออก จากโรงเรียนแล้วมารดาก็เป็นผู้สอนแทนเธอสอนให้อ่านและ เขาก็อ่านหนังสือเกี่ยวกับเคมีที่สามารถจะหาได้ พออายุได้12ปี เขาได้ทำงานเป็นเด็กเดินข่าวของรถไฟ ขายหนังสือพิมพ์และผลไม้ เอดิสันหูตึงเพราะถูกพนักงานรักษารถไฟคนหนึ่งกระแทกที่หูอย่าง แรงเมื่อเขาทำสารเคมีชนิดหนึ่งหกลงไปจนเกิดไฟลุกในรถเก็บของ ซึ่งเอดิสันใช้เป็นห้องทำงานและทำการทดลองวิทยาศาสตร์ จากอุบัติเหตุทำให้เกิดไฟไหม้ครั้งนั้นทำให้เอดิสันถูกไล่ออก และตกงานแต่นายสถานีประทับใจในความเฉลียวฉลาดและ ไหวพริบของเขาจึงได้สอนเรื่องการส่งโทรเลขให้ดังนั้นเมื่อ เขาอายุได้15ปีก็ได้เข้าทำงานเป็นคนส่งโทรเลขเขาได้ประดิษฐ์ เครื่องทุ่นแรงสำหรับส่งโทรเลขในปี 1869ขณะอายุได้21ปีและ ได้จดลิขสิทธิ์สิ่งประดิษฐ์ชิ้นแรกของเขา ต่อมาในปี1878 เอดิสันก็ได้ประดิษฐ์หลอดไฟหลอดแรกของโลกได้เป็นผลสำเร็จ เอดิสันได้จดลิขสิทธิ์สิ่งประดิษฐ์ของเขามากกว่า1200ชนิด ผลงานของเขาอาทิเช่นหลอดไฟฟ้า,หีบเสียง,เครื่องบันทึกเสียง ฯลฯ เอดิสันทำงานอย่างขยันขันแข็งคืนหนึ่งๆเขานอนเพียง4-5ชั่วโมง เท่านั้นในตอนปลายของชีวิตสุขภาพของเขา ทรุดโทรมไปมากและถึงแก่กรรมในปี ค.ศ.1931
ผลงาน
-เป็นผู้ประดิษฐ์หลอดไฟฟ้า -เป็นผู้ประดิษฐ์หีบเสียง -เป็นผู้ประดิษฐ์จานเสียง -เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องบันทึกเสียง -เป็นผู้ประดิษฐ์กล้องถ่ายภาพยนตร์
                    -ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ. 1921



กูกิลโม มาร์โคนี



 

ประวัติ

กูกิลโม มาร์โนี เกิดเมื่อปี 1874 ที่โบโลนา ในประเทศอิตาลี มีบิดาเป็นชาวอิตาเลียนและมารดาเป็นชาวไอริช เขาได้รับแรงดลใจจากการค้นพบคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ของคลาร์ค แม็กซ์เวลล์ และการทดลองการส่งกระแส ไฟฟ้าผ่านเส้นลวดของไฮริช เฮิร์ท นักวิทยาศาสตร์ชาว เยอรมันหลังจากการค้นพบของเฮิร์ทไม่นาน เด็กหนุ่ม ชาวอิตาลีชื่อ กูกิลโม มาร์โคนี ซึ่งศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย โบโลนา ในประเทศอิตาลีได้พบปะกับนักวิทยาศาสตร์คน หนึ่งซึ่งเคยทำงานกับเฮิร์ทในประเทศเยอรมีน งานของ เฮิร์ททำให้มาร์โคนีเกิดจินตนาการเขาได้สร้างเครื่องรับ ส่งวิทยุอย่างง่ายๆ ไว้ในห้อง 2 ห้องที่บ้านของบิดาและ ในไม่ช้าเขาก็สามารถส่งสั้ญญาณข้ามห้องจากห้องหนึ่ง ไปยังอีกหน้องหนึ่งได้ เขาพบว่าถ้าเขา สร้างเสาอากาศให้สูงขึ้น เขาจะสามารถส่งสัญญาณของเขาได้ไกลขึ้น ในปี ค.ศ.1895 เมื่อเขาอายุได้ 21 ปี เขาส่งสัญญาณไปไกลถึง 1.5 กิโลเมตร เขาเห็นความสำคัญของ การค้นพบนี้ การทดลองต่อต้องการทุนทรัพย์ แต่ไม่มีใครสนใจในเรื่องนี้นัก เมือ่เขา ไม่ได้รับการสนับสนึนในอิตาลีจึงเดินทางไปลอนดอนในปี 1896 และการไปรษณีย์ ของอังกฤษให้ความช่วยเหลือและด้วยการปรับปรุงวิธีการของเฮิร์ทในหลายๆ ด้านเขา เริ่มสามารถส่งสัญญาณไปไกล ๆ ขึ้นในปี ค.ศ 1899 เขาส่งสัญาณจากสถานีหนึ่ง บนฝั่งด้านใต้ไปยังสถานีในฝรั่งเศสซึ่งไกลออกไป50กิโลเมตรและที่ระย120 กิโลเมตร สำเร็จเจ้าของเรื่อเริ่มติดตั้งเครื่องมาร์โคนี ในเรือเดินทะเลของเขา หลายคนรู้สึก ประทับใจเมื่อเรือที่กำลังเดินทางในกู๊ดวินแซนด์ในทะเลเหนือได้รับการเตือนให้ทราบ ถึงภัยอันตรายด้วยคลื่อนวิทยุจากมาร์โคนี ทำให้เรือกับลูกเรือทุกคนปลอดภัย ในปี ค.ศ 1901 มาร์โคนี ส่งสัญญาณวิทยุได้ระยะทางไกลกว่า 2700 กิโลเมตร จากคอร์นวอลถึงนิวฟาวน์แลนด์ที่ทุกคนบอกว่าเป็นไปไม่ได้ เพราะแม็กซ์เวลได้ แสดงให้เห็นว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเดินทางเป็นเส้นตรงเหมือนแสงแต่ระยะทาง นิวฟาวน์แลนด์ไม่ได้เป็นทางตรง เพราะโลกนี้โค้งทุกคนคิดว่าคลื่นวิทยุของเขา จะเดินเป็นเส้นตรงและหายไปในอากาศ แต่ปรากฏว่าคลื่นวิทยุที่รับได้ที่ นิวฟาวน์แลนด์นั้นชัดเจนซึ่งแม้แต่มาร์โคนีก็ไม่ทราบเหตุผล ในปัจจุบันี้เรา ทราบว่าสูงขึ้นไปจากระดับน้ำทะเลประมาณ 110 กิโลเมตร จะมีชั้นรอนุภาค ไฟฟ้าซึ่งเรียกกันว่าไดโอดนสเฟียร์และชั้นนี้จะเป็นตัวสะท้อนคลื่อนวิทยุกลับ มายังโลกเมื่อคลื่นไปกระทบถูกชั้นบรรยากาศ 20,000 เมตรถ้าส่งข่าวสาร ออก ณ ความยาวคลื่นหนี่งหรือความถี่หนึ่งเครื่องรับจะต้องปรับให้ตรงกับ ความยาวคลื่นเครื่องวิทยุของเราจึ่งมีหน้าปัทม์ที่มีตัวเลขหรือเครื่องหมาย บอกความยาวของคลื่น เพื่อให้เราสามารถเลื่อกโปรแกรมที่เราต้องการฟังได้ วิทยุคลื่นสั้นความถี่สูง เป็นส่งที่เหมาะกับรายการที่ถูกส่งมาจากระยะไกลๆ หลังจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง มาร์โคนีทำการทดลองส่วนใหญ่เกี่ยวกับ สัญญาณคลื่นสั้นในระยะเวลาอันสั้นที่มาร์โคนีมีชีวิตอยู่วิทยุได้พัฒนามาจาก การค้นพบเของเฮิร์ทจนมีรายการทั้งการพูด ดนตรีถูกส่งไปทั้วโลกเมื่อเขา ถึงแก่กรรมในโรม เมื่อปี 1937 ได้มีการจัดงานกันอย่างเป็นทางการและศพ เขาได้ฝังในบ้านเกิดของเขาที่โบโลนา ประเทศอิตาลี


-เป็นผู้ประดิษฐ์โทรเลขไร้สายเป็นคนแรกของโลก -ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ในปี ค.ศ.1909



ชาร์ลส์ ดาร์วิน



 

ประวัติ

ชาร์ลส์ โรเบิร์ต ดาร์วิน เกิดเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 1809 ในชูว์เบอรี่ ประเทศอังกฤษ บิดาของเขาเป็นนายแพทย์ซึ่งต้องากรให้ลูกชายดำเนินอาขีพทางด้านนี้เช่นกัน เขาจึงถูกส่งเปเรียนการแพทย์ที่เอดินเบอระ แต่เรียนได้ 2 ปีก็ลาออกเพราะใจไม่ชอบ ทางนี้ ชาร์ลส์เป็นคนที่ชอบสะสมสิ้งของที่เขาสนใจ เช่น แมลง (ที่ตายแล้ว) เปลือกหอย ไข่นก เหรียญต่างๆ และหินแปลกๆ เขาเล่าในภายหลังว่าการสะสมของเขาเป็นการ เตรียมให้เขาทำงานเป็นนักธรรมชาติวิทยา หลังจากที่ลาออกจากการเรียนแพทย์ บิดาจึงส่งชาร์ลส์ไปยังมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์เรียนทางศาสนาเพื่อจะบวชเป็นพระ ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์นี้เองที่เขาได้รับการแนะนำจากอาจารย์สอนพฤกษศาสตร์ คนหนึ่ง ให้เขาไปเรียนวิชาธรณีวิทยาเพิ่มเติม จึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มความรู้ในวิชา ธรรมชาติวิทยาที่เขาสนใจให้กว้างขาวางยิ่งขึ้น มีเรื่องเล่าว่าวันปนึ่งชาร์ลส์ได้เห็น แมลงที่หายากสองชนิดบนต้นไม้ เขาจับไว้ด้วยมือแต่ละข้างอย่างรวดเร็วแต่แล้วเขา เห็นตัวที่สาม ยิ่งหายากกว่า แมลงนั้นอยู่ตรงหน้าของเขาเขาเอาแมลงตัวหนึ่งใส่เข้าไป ในปากอย่างรวดเร็ว และยื่นมือออกไปจับตัวที่สามแต่ตัวที่อยู่ในปากของเขาได้คายน้ำ ชนิดหนึ่งออกมาซึ่งทำให้ลิ้นของชาร์ลส์ปวดแสบปวดร้อนอย่างมากจนทำให้เขาต้องถ่ม แมลงตัวนี้นออกมาเขาเป็นห่วงว่าจะสูญเสียแมลงตัวนั้นมากกว่าเป็นห่วงว่าจะทำให้ลิ้น เจ็บและแล้วโชคก็ผ่านมาในชีวิตเขากองทัพเรือได้เตรียมการออกสำรวจรอบโลกโดย ทางเรือชื่อ บีเกิล เพื่อเก็บข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ด้วยการรับรองของศาสตราจารย์ เฮนสโลวดาร์วินได้รับเชิญให้เป็นนักสำรวจธรรมชาติวิทยาการสำราจใช้เวลานานถึง 5 ปีทำให้ ดาร์วินได้มีโอกาสเปรียบเทียรสัตว์และพืชจากส่วนต่างๆ ของโลก เขาได้ เห็นสัตว์ที่มีถุงหน้าท้อง เช่น จิงโจ้ ในประเทศออสเตรเลีย และในนิวซีแลนด์ ซึ่งจะไม่ พบในประเทศอื่นเมื่อการสำรวจมาถึงหมู่เกาะกาลาพากอสในอเมริกาใต้ดาร์วินก็ได้ พบสัตว์ชนิดต่างๆ และพบว่าแต่ละเกาะมีสัตว์เฉพาะชนิดซึ่งไม่พบในเกาะอื่น สิ่งที่พบ เห็นทำให้ดาร์วินต้องคิดอย่างหนัก สำหรับเขาเหมือนกับว่าสัตว์เหล่านั้นมี่การเปลี่ยน แปลงลักษณะพิเศษที่ช่วยให้มันมีชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมแบบนั้นๆ ส่วนตัวใดที่ ไม่มีลักษณะเช่นนั้นก็จะตายไปส่วนที่อยู่ก็ได้ถ่ายทอดลักษณะนั้นๆไปยังลูกหลานการ เปลี่ยนแปบงเป็นไปอย่างช้าๆ ตลอดเวลาหลายพันปี ชนิดที่อ่อนแอและมีส่วนที่ด้อย กว่าก็จะตายไป ชนิดที่ดีกว่าก็จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในสภาพแวดล้อมเฉพาะนั้นๆ โดยมีการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มจำนวนนี่คือสิ่งที่เราเรียกว่าวิวัฒนาการ ชาร์ลส์ได้ เขียนผลงานชิ้นสำคัญของเขาเล่มแรกคือ"เดอะ ซูโอโลจี ออฟ เดอะ บีเกิล"มันได้รับ การต้อนรับเป็นอย่างดี ชาร์ลส์ไม่เร่งร้อนที่จะเปิดเผยความคิดของเขาเรื่องการกำเนิด ของชีวิต บางทีเขาอาจจะต้องการเวลามากกว่านี้สำหรับคิดเขากังวลอย่างมากในการที่ จะขัดแย้งกับความเห็นของศาสนาที่ทุกคนยอมรับ แต่นักธรรมชาติวิทยาอีกคนหนึ่งชื่อ วอลเลซ มีความเห็นเช่นเดียวกันกับดาร์วิน เขาเขียนจดหมายถึงดาร์วิน ในปี 1858 และส่งเอกสารเรื่องนี้ไปให้เขา เขาของร้องให้ดาร์วินช่วยส่งไปยังมหาวิทยาลัย ดาร์วินมีน้ำใจดีพอที่จะช่วยทำให้พร้อมกับเสริมไปว่า ดาร์วินเองก็มีความคิดเห็นเช่นเดียว กันแต่ยังไม่มั่นใจในการที่จะเปิดเผยต่อสาธารณชนเพราะว่าจะทำให้เกิดความโกลาหล เกิดขึ้นอย่างแน่นอนโชคดี นักธรรมชาติวิทยาที่เคมบริดจ์ทราบเรื่องผลงวานของดาร์วิน และชักชวนให้เขาเปิดเผยความคิดเห็น ดังนั้นเขาและวอลเลซจึงพิมพ์เอกสารขึ้นด้วยกัน หนึ่งปีต่อมาหนังสือที่มีชื่อเสียงของดาร์วินชื่อ"ออนดิออริจิน ออฟ สเปซี่ บายมีนส์ ออฟ เนเชอราล ซีเล็คชั้น"ก็ได้ปรากฏขึ้น และเหมือนดังที่ดาร์วินคาดคิดไว้ มันทำให้เกิดความ โกลาหล สิ่งที่ดาร์วินพูดถึงคือบอกว่า โลกนี้มิได้ถูกสร้างขึ้นภายในหนึ่งอาทิตย์ มันมีอายุ ยาวนานกว่านั้นมันได้เปลี่ยนแปลงไปในเวลานี้และยังเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ สิ่งมีชีวิต ต่างๆ ก็เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกันและผิดแผกแตกต่างออกไปจากที่ตอนเริ่มเกิดขึ้น ใหม่ๆ มนุษย์พัฒนาขึ้นมาจากสิ่งมีชีวิตที่ธรรมดาที่สุด เรื่องราวของอดัมและอีฟในสวน อีเดนคงเป็นจริงไปไม่ได้ผู้คนคิดว่า ดาร์วินบอกว่าพวกเขาสืบเชื่อสายมาจากลิงเป็น ความคิดที่น่าละอายอย่างยิ่งหนังสือของดาร์วินถูกนำไปเผาทิ้งด้วยความโกรธและขยะ แขยงฝ่ายศาสนจักรพร้อมที่จะเผชิญกับดาร์วินในปี 1860 พวกเขาเรียกประชุมที่ อ๊อกซ์ฟอร์ด พวกพระและนักวิทยาศาสตร์พบกันที่นีนเพื่อถกเถียงกันถึงต้นกำเนิด ของสัตว์และต้นไม้สำหรับเรา การประชุมกันแบบนี้ฟังดูเป็นเรื่องหัวโบราณเหลือเกิน แต่ในสมัยนั้นถือเป็นเรื่องจริงจังถึงแม้นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่เห็นด้วยว่าความคิด เห็นของดาร์วินถูกต้อง และเรื่องราวของอดัมกับอีฟเป็นแต่เพียงเรื่องเล่าฝ่ายศาสนจักร ยังคงมีอำนาจมากจนดาร์วินไม่เคยได้รับรางวัลเกียรติยศจากผลงานของเขาจากการ หมกมุ่นในการทำงานทำให้สุขภาพของเขาทรุดลแต่เขายังคงทำงานต่อไป "เมื่อข้าพ เจ้าต้องหยุดการสัเกต ข้าพเจ้าก็ตาย" เขาพูดในวันที่17 เมษายน 1882 เขายังคง ทำงานอยู่ และเสียชีวิตในอีกสองวันต่อมา
ผลงาน
-เป็นผู้การค้นพบการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม จนได้รับการขนานนามว่า "บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์"



วิลเบอร์ ไรท์



 

ประวัติ


ออร์วิลและวิลเบอร์ ไรท์ เป็นบุตรของเสมียนในเมือง เล็กๆ ชื่อเดตันในรัฐโอไฮโอ วิลเบอร์ ไรท์ ผู้เป็นพี่ชายเกิดในปี1867 ส่วนออร์วิล คนน้องเกิดในปี 1871 ทั้งสองมีแรงบันดาลใจเกี่ยวกับเรื่องการบินตั้งแต่ได้รับของขวัญเป็นเครื่องร่อนเล็กๆ ซึ่งสองคนพี่น้องนึกแปลกใจว่าเครื่องร่อนนั้นบินได้อย่างไร ต่อมาในปี 1895 หลังจากที่ทั้งคู่จบการศึกษาและร่วมกันเปิดร้านซ่อมจักรยานนั้น พี่น้องคู่นี้ได้อ่านบทความที่เขียนโดยนักสร้างเครื่องร่อนชาวเยอรมัน ชื่อ ออตโต ลิเลียนทาล บทความนี้ทำให้เขาประหลาดใจเหมือนเมื่อสมัยเขาทั้งสองเป็นเด็ก จึ่งตัดสินใจที่จะสร้างเครื่องยนต์ที่บินได้และบรรมทุกคนได้ด้วย หลังจากที่ทั้งสองพี่น้องได้ศึกษาและทดลองถึงการลอยตัวของว่าวและเครื่องร่อนจนรู้สาเหตุแล้วจึ่งได้สร้างเครื่องร่อนขนาดใหญ่พอที่จะบรรทุกคน ขึ้นไปได้หนึ่งคนเป็นครั้งแรกและให้ชื่อมันว่า คิตตี้ ฮอร์ก โดยทำการทดลองร่อนที่เนินเขาในรัฐคาโรไลนาเหนือที่มีลมแรง การทดลองประสบผลสำเร็จ ทั้งคู่จึงสร้างเครื่องร่อนขึ้นอีกหลายลำและเพิ่มระยะทางบินให้มากขึ้น ในปี ค.ศ. 1902 ทั้งคู่คิดค้นหาวิธีที่จะทำให้เครื่องร่อนบินได้ไกลและมีประสิทธิ ภาพขึ้น โดยคิดที่จะใส่เครื่องยนต์ให้กับเครื่องร่อนนั้น พอปลายปี 1903 เครื่องบินลำแรกของโลกก็ได้ถูกสร้างขึ้นโดยวิลเบอร์ และออร์วิล เอาเครื่อง ยนต์ขนาด 12 แรงม้า ใส่เข้ากับเครื่องร่อนคิตตี้ โอร์ค ซึ่งใช้หมุนใบพัด 2 ข้าง และตั้งชื่อให้มันว่า ฟลายเออร์ โดยวิลเบอร์เป็นผู้ทดลองขึ้นบินเป็น คนแรก ในการทดลองบินครั้งแรกนั้น ฟลายเออร์ยกตัวลอยขึ้นจากพื้นดิน หมุนไปรอบๆ แล้วตกลงพื้นดิน ต้องเสียเวลาซ่อม 2 วัน ทั้งคู่จึ่งทำการทด ลองต่อไปใหม่ โดยคราวนี้ออร์วิล เป็นผู้อยู่บนเครื่องเขาพยายามบินอีกครั้ง ฟลายเออร์ลอยขึ้นสูงจากพื้นดิน 3เมตร ใช้ความเร็ว 48 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และบินไปได้ไกลถึง 36 เมตร พี้น้องตระกูลไรท์ได้ทำการทดลองบินอีกในเช้าวันต่อมาจนกระทั่งลมกรรโชกทำให้เครื่องพลิกคว่ำแล้วพังไป เขาจึงกลับไปทำงานที่ร้านจักรยานต่อ และทำการทดลองอีกครั้งในปี ค.ศ.1905 โดยสร้างเครื่องบินอีก 3 ลำ และทำการบินได้ครึ่งชั่วโมงในแต่ละครั้ง น่าประหลาดใจที่ไม่มีใครแสดงความสนใจในสิ่งที่พวกเขาทำมากนัก เพียงไม่กี่คนที่เฝ่ากูเขาทำการบิน ไม่มีแม้แต่การรายงานข่าวในหนังสือพิมพ์ คนทั่วไปไม่คิดว่าการบิน จะเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ในปี ค.ศ.1908 เขาได้ทำการบินต่อหน้าสาธารณชน โดยมีผู้โดยสารขึ้นไปคนหนึ่งบินไปเกือนบครึ่งชั่วโมง และกลายเป็นผู้มีชื่อเสียง เขา ได้ทำการสาธิตการบินทั้งในยุโรปและอเมริกาใน ปี 1909 ทั้งคู่เป็นวีรยุรุษของปวงชนแทนที่จะเป็นช่างซ่อมจักรยานที่ไม่มีใครรู้จัก เขาได้ตั้งโรงงานผลิตเครื่อง บินและได้รับความสำเร็จในทันที ออร์วิลและวิลเบอร์ได้รับชัยชนะที่งดงามด้วยกัน จนกระทั่งปี ค.ศ.1912 วิลเบอร์เป็นไข้ไทฟอยด์และถึงแก่กรรม


ผลงาน
-ประดิษฐ์เครื่องบินลำแรกของโลก



 



แซมมวล มอร์ส



 

ประวัติ


แซมมวล ฟินลีย์ บรีส มอร์ส ชาวอเมรีกัน เกิดในปี ค.ศ.1791 การคิดประดิษฐ์เครื่องส่งทรเลขของเขานั้นเริ่มขึ้นในปี ค.ศ.1832 ขณะเขาเดินทาง โดยเรือใบที่ชื่อซัลลีย์ และเฝ้าดูการทดลองง่ายๆ ของดร.แจคสัน ซึ่งโดยสารมาในเรือลำเดียวกัน โดยดร.แจคสัน เอาลวดพันรอบๆ แท่งเหล็ก แท่งหนึ่งและแสดงให้เห็นว่า เหล็กกลายเป็นแม่เหล็กเนื่องจากใช้ดูดตะปูได้ แต่เมื่อตัดกระแสออก เหล็กก็หมดความเป็นแม่เหล็กและตะปูก็จะร่วง ลงมา จากการทดลองเกี่ยวกับแม่เหล็กไฟฟ้าเช่นนี้ ทำให้แซมมวล มอร์ส เกิดความคิดเกี่ยวกับการส่งรหัส โดยอาศัยแม่เหล็กไฟฟ้ามอร์สได้ประดิษฐ์ สวิทช์ไฟง่ายๆขึ้นจากแผ่นโลหะ สปริงทองเหลือง ตรงปลายมีปุ่มไม้สำหรับกด เมื่อกดปุ่มไม้ลงจะมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านสวิทช์ แต่เมื่อเลิกกดปุ่ม สวิทช์จะเปิดกระแสไม่ไหล สมียนี้เราเรียกสวิทช์เช่นนี้ว่า "สะพานไฟของมอร์ส" ใช้ในการส่งกระแสเป็นเวลาสั้นๆ ยาวๆ ตามรหัส กระแสนี้ไหลผ่านสาย ลวดที่ขึงไว้ระหว่างเมืองกับเมืองหรือประเทศกัยประเทศไปยังแม่เหล็กไฟฟ้าเล็กๆ ซึ่งมีสปริงที่เรียกว่า "อาร์เมเจอร์" ต่ออยู่ ในขณะที่มีกระแสสั้นๆ หรือ "จุด" อาร์เมเจอร์จะถูกดูดด้วยแม่เหล็ก และดีดกลับเพราะสปริง ในขณะที่มีกระแสยาวๆ หรือ "ขีด" อาร์เมเจอร์จะถูกดูดนานหน่อยโดยใช้ออด ไฟฟ้าเราอาจได้ยินเสียงออดสั้นบ้าง ยาวบ้างสลับกันไปมอร์สเป็นผู้คิดระบบที่ใช้รหัสสั้นๆ ยาวๆ แทนอักษรต่างๆ เพื่อที่จะได้ส่งข้อความไปตามเส้น ลวดด้วยรหัสเช่นนี้ได้ ระบบเช่นนี้เรียกว่า "รหัสของมอร์ส"ซึ่งใช้กันมาจนถึงปัจจุบันนี้ แซมมวล มอร์ส ผู้ค้นพบสิ่งประดิษฐ์ซึ่งทรงคุณค่าและเป็น พื้นฐานความเจริญก้าวหน้าทางการสื่อสาร ได้ถึงแก่กรรมในปีคศ.1875
ผลงาน
-เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องรับส่งโทรเลขเป็นคนแรก -เป็นผู้คิดรหัสมอร์ส



วิลเฮล์ม คอนราด รีนต์เกิน



 

ประวัติ


วิลเฮล์ม คอนราด รืนต์เกิน (wilhelm konrad roentgen) เกิดวันที่ 27 มีนาคม 1845 ที่เมืองเลนเนปในโรน์แลนด์ เป็นบุตรคนเดียวของนักอุตสาหกรรมและการค้าผ้า เขาได้รับการศึกษาครั้งแรกในฮอลแลนด์และในซูริค เขาศึกษาในมหาวิทยาลัยหลายแห่ง และเป็น ศาสตราจารย์ทางฟิสิกส์ในปี ค.ศ.1902 รืนต์เกิน ค้นพบรังสีเอ็กซ์โดยบังเอิญเมื่อวันที่8 พฤศ่จิกายน 1895 ขณะที่เขาทำการทดลองโดยเอากระดาษเข็งสีดำสนิทหุ้มหลอด แก้วไว้ไม่ให้แสงสว่างลอดเข้าออกได้ และส่งกระแสไฟฟ้าผ่าน ก๊าซต่างๆ ในหลอดแก้วพิเศษ ซึ่งถูกดูดเอาอากาศออก ในวันหนึ่ง รืนต์เกิน สังเกตว่าแม้หลอดจะถูกปกคลุมด้วยกระดาษสีดำ การแผ่รังสีบางอย่างสามารถจะส่องผ่านออกมาได้และทำให้ฉากที่วางอยู่ใกล้ สว่างขึ้น รืนต์เกินไม่สามารถมองเห็นว่ามีอะไรออกมาจากหลอด แต่เขาค้นพบว่าถ้าเขาวางฉากในห้องถัดไปซึ่งอยู่คนละด้านและปิดประตู รังสีก็ดูเหมือนจะมีผลต่อฉาก ดังนี้รังสีไม่เพียงแต่สามารถผ่านทะลุกระดาษ ดำเท่านั้นยังผ่านไม้ไปได้ด้วย สิ่งต่อมาที่เขาค้นพบคือถ้าเขาวางมือกั้น ระหว่างรังสีและแผ่นถ่ายภาพ รังสีจะบันทึกเงาของโครงกระดูกของ มือเขาบนแผ่นถ่ายภาพนั้น แสดงว่ารังสีนี้สามารถส่องผ่านเนื้อ ของเขาเช่นเดียวกับที่ส่องผ่านกระดาษดำ รืนต์เกินทดลองดูอีก ภายใน 2-3 นาทีก็หายสงสัย เขาจึงประกาศการค้นพบของเขาโดย ให้ชื่อแสงนี้ว่า"รังสีเอ็กซ์" ตั้งแต่รืนต์เกินพบรังสีเอ็กซ์มาจนถึงปัจจุบัน รังสีนี้ได้อำนวยประโยชน์ให้แก่มนุษย์อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะในวงการแพทย์ ซึ่งค้นพบว่านอกจากรังสีเอ๊กซ์จะช่วยให้แพทย์ใช้ประโยชน์ในการตรวจดูความผิด ปกติของอวัยวะภายในของคนใข้แล้ว รังสีนี้อาจจะใช้ได้ผลในการบำบัด โรคมะเร็งและกำจัดความเติบโตผิดปกติของเซลบางจำพวกด้วยเหมือนกัน นอกจากวงการแพทย์แล้ว รังสีเอ๊กซ์ยังใช้ประโยชน์ในวงการอุตสาหกรรม วิศวกรรม การสืบสวน และวงการวิทยาศาสตร์หลายสาขาด้วยกัน วิลเฮล์ม คอนราด รืนต์เกิน ผู้ค้นพบสิ่งที่เป็นคุณประโยชน์แก่มวลมนุษย์อย่าง มหาศาล ได้ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 1913 ด้วยโรคมะเร็ง


-เป็นผู้ค้นพบรังสีเอ็กซ์ซึ่งนำมาใช้ในการเอ็กซ์เรย์ในปัจจุบัน



ไมเคิล ฟาราเดย์



 

ประวัติ


ไมเคิล ฟาราเดย์ เกิดเมื่อวันที่ 22 กันยายน ปี ค.ศ.1791 เป็นบุตรของช่างเหล็กชาวอังกฤษ เนื่องจากฐานะไม่สู้ดี เขาจึงได้รับการศึกษาน้อยยังไม่ทันเรียนสำเร็จก็ต้องออกจาก โรงเรียนกลางคัน และใช้ชีวิตอยู่ในสลัมแห่งหนึ่งไม่มีวี่แววว่าจะเติบโตขี้นเป็น นักวิทยาศาสตร์ที่มีชื่อเสียงไปได้ เมื่อมีอายุได้ 13 ปี ไมเคิลก็ไปทำงานเป็นเด็กส่ง หนังสือพิมพ์ และทำงานเย็บปกหนังสือในร้านขายหนังสือด้วย จากการงานนี้ทำให้เขา มีใจรักหนังสือและหาโอกาสอ่านอยู่เสมอ โดยเฉพาะหนังสือที่เกี่ยวกับวิชาไฟฟ้าที่เขา สนใจที่สุด และก็ลองทำการทดลองดูด้วยตนเอง และหาโอกาสไปฟังการบรรยายของ นักวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ เสมอ โดยเฉพาะการบรรยายของเซอร์ฮัมฟรีย์ เดวี ซึ่งเขาจะไป ฟังทุกครั้ง และส่งจดหมายแสดงความประสงค์ที่จะขอไปเป็นเด็กรับใช้ของเซอร์อัมฟรีย์ เซอร์อัมฟรีย์ เดวีย์ เห็นชายหนุ่มมีความสนใจอย่างแรงกล้า จึงรับเข้าทำงานเป็นคนล้าง เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในห้องเครื่องมือ ทำให้เขามีโอกาสศึกษาวิชาทางวิทยาศาสตร์จาก เซอร์อัมฟรีย์ จนเกิดความชำนาญจนได้รับหน้าที่เป็นผู้ช่วยและติดตามท่านเซอร์ไปในการ เดินทางไปบรรยายทุกครั้ง ในปี 1821 ขณะที่ฟาราเดย์ได้ทำการทดลองเรื่องแม่เหล็กไฟฟ้า เขาก็พบปรากฏการณ์อย่างหนึ่งที่กระแสไฟฟ้าเดินตามเส้นลวดแล้วทำให้เกิดอำนาจ แม่เหล็กรอบ ๆ เส้นลวดกระแสนี้เมื่อนำเอาเข็มแม่เหล็กไปวางไว้ใกล้กระแสนี้ก็จะหมุน ไปเรื่อยๆ ด้วยหลักอันนี้ ฟาราเดย์จึงทดลองประดิษฐ์ไดนาโมเล็กๆ ขึ้น อันเป็นต้นกำเนิด ของไดนาโมที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันไมเคิล ฟาราเดย์ ล้มป่วยเป็นโรคความจำเสื่อมในบั้นปลาย ของชีวิต และถึงแก่กรรมเมื่อ ปี ค.ศ.1867 ที่แฮมป์ตันคอร์ท เมื่ออายุได้ 76 ปี


ผลงาน


-เป็นผู้ให้กำเนิดไดนาโมในปี ค.ศ.1821

เบนจามิน แฟรงคลิน
 
ประวัติ


เบนจามิน แฟรงคลิน เกิดเมื่อวันที 17 มกราคม ปี ค.ศ.1706 ในประเทศอังกฤษ เขามีพี่น้องทั้งหมด 17 คน เขาเป็นคนที่ 15 บิดามีอาชีพเป็นคน ผลิตเทียนไขกับสบู่ ครอบครัวของเบนจามินได้ลี้ภัยทางศาสนา จากประเทศอังกฤษไปตั้งรกรากอยู่ในอเมริกาซึ่งขณะนั้นเป็นเมือง อาณานิคมของอังกฤษตั้งแต่เขายังอายุน้อย บิดาของเบนจามินได้ส่งเขา เข้าเรียนในโรงเรียนซึ่งตั้งอยู่ใกล้บ้าน แต่ผลการเรียนไม่ค่อยดีนักเพราะ อ่อนคำนวณ บิดาจึงให้ออกจาก โรงเรียนมาช่วยงานทางบ้าน ซึ่งเบนจามินไม่ค่อยชอบงานด้านนี้นัก เพราะชอบงานทางด้านหนังสือ บิดาจึงส่งไปอยู่ดกับพี่ชายที่เมืองบอสตันซึ่งมี กิจการโรงพิมพ์เป็นของตัวเอง เบนจามิน แฟรงคลิน เริ่มฝึกงานช่างพิมพ์ ด้วยเหตุว่าเขาสนใจงานด้านนี้มาก่อน จึงตั้งอกตั้งใจประกอบกับสนใจ ทางด้านหนังสือ จึงฝึกเขียนบทความลงในหนังสือโดยสอดไว้ในกองต้นฉบับ โดยไม่บอกให้พี่ชายทราบ เจมส์ซึ่งเป็นพี่ชายเมื่ออ่านดูก็ชอบใจและ นำพิมพ์ออกสู่ท้องตลาดโดยไม่รู้ว่าเป็นฝีมือของใคร ข้อเขียนนั้นได้รับ ความนิยมอย่างสูง จนมีการลงพิมพ์ผลงานอื่นๆ อีกหลายชิ้น แต่พอความจริง เปิดเผย ออกมา เจมส์กลับโกรธมาก และไม่ยอมลงเรื่องที่เบนจามินเขียนอีกเลย เมื่อขัดใจกับพี่ชาย เบนจามิน แฟรงคลินจึงลาออกจากงานเดินทางไป เมืองฟิลาเดลเฟียเพื่อทำงานด้านการ พิมพ์ของตัวเองขึ้นบ้าง ขณะเดียวกันเขาก็เริ่มสนใจเกี่ยวกับไฟฟ้า โดยเฉพาะ ปรากฏการณ์ทางธรรมชาติคือฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่าซึ่งในสมัย นั้นยังไม่มีใครให้คำตอบที่ถูกต้องได้ ปี ค.ศ.1752 เบนจามิน จึงเริ่มค้นหา ความจริง เกี่ยวกับไฟฟ้าในอากาศ โดยใช้วิธีชักว่าวขึ้นไปบนท้องฟ้า เวลาฝนตกซึ่งเป็นการทำที่เสี่ยงอันตรายมาก ว่าวของเขาทำจากผ้าแพร ปิดบนโครง มีเหล็กแหลมติดที่ตัวว่าว ปลายสายผูกลูกกุญแจทองเหลืองและ ใช้ริบบิ้นผูกกับสายว่าวอีกทีหนึ่งเพื่อใช้เป็นที่จับ พอฝนเริ่มตั้งเค้าเขาก็เริ่ม ส่งว่าวขึ้นสู่ท้องฟ้า พอโดนฝนสายเชื่อกที่ชักว่าวก็เปียกโชก มันจึ่งกลายเป็น ตัวนำไฟฟ้าที่ดีและไฟฟ้าในกลุ่มเมฆก็เคลื่อนที่จากตัวว่าวมาสู่ลูกกุญแจทาง สายป่าน เบนจามินทราบดีว่าริบบิ้นเป็นฉนวนป้องกันไม่ให้ไฟฟ้าไหลผ่านเข้าสู่ตัวเขา ดังนั้นเขาจึงไม่ได้รับอันตรายจากการทดลองครั้งนี้ เบนจามินทำการทดลองต่อไป โดยเอาเศษหญ้าจ่อชิดลูกกุญแจ ก็เกิดประกายไฟจากลูกกุญแจมาสู่มือ ของเขา และเมื่อเขาลองเอากุญแจหย่อนลงเกือบถึงพื้นดิน ก็เกิดประกายไฟฟ้า ระหว่างพื้นดินกับลูกกุญแจอีก เขาจึงลงความเห็นว่าไฟฟ้าที่มีอยู่ในอากาศ นั้นเองเป็นตัวการทำให้เกิดฟ้าแลบ ฟ้าร้อง และฟ้าผ่า การจะป้องกันอันตราย ที่จะเกิดจากการถูกฟ้าผ่าก็คือการระบายประจุออกจากไฟฟ้าที่มีสะสมอยู่ ในก้อนเมฆในอากาศให้น้อยลง ซึ่งจะทำได้ก็โดยการใช้โลหะปลายแหลมและ สายไฟฟ้าที่เป็นสื่อไฟฟ้าตั้งไว้ในที่สูงแล้วต่อมายังพื้นดิน และฝังส่วนปลายที่ จ่อลงดิน ไว้กับแผ่นโลหะขนาดใหญ่ให้ลึกเพื่อเป็นการระบายประจุไฟ้า แต่ต้องไม่ให้สาย ที่ต่อนั้นโค้งงอจนเป็นมุมฉากเพราะอาจเกิดการลัดวงจรได้ ซึ่ง อุปกรณ์ชนิดนี้เองซึ่งเรียกกันว่า "สายล่อฟ้า" นอกจากการคิดประดิษฐ์สายล่อฟ้า แล้ว เบนจามิน แฟรงคลิน ยังมีความรอบรู้เกี่ยวกับการเกษตร โดย เป็นคนแรกที่แนะให้เกษตรกรแก้ความเป็นกรดของดินโดยการโรยปูนขาว ซึ่งนับเป็นประโยชน์ในการเกษตรกรรมเป็นอันมาก จากการเป็นนักคิด นักประดิษฐ์นี่เอง ทำให้เบนจามินได้รับการยกย่อง และได้รับเกียรติจากราชสมาคมอังกฤษให้เข้าเป็นสมาชิกด้วย ซึ่งการเข้าเป็น สมาชิกของราชสมาคมอังกฤษในสมัยนั้นนับว่ายากที่สุด และส่งที่น่าสรรเสริญ เกี่ยวกับตัวเขาอีกอย่างหนึ่งนั้นคือผลงานและสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ของ เขานั้น ไม่เคยนำไปจดทะเบียนลิขสิทธิ์เลย ทั้งนี้เพื่อให้ผู้อื่นมีสิทธิ์ที่จะประดิษฐ์ สิ่งนั้นขึ้นใช้ได้ นอกจากจะไม่หวงในผลงานแล้ว เขากลับส่งเสิรมและแนะนำ บุคคลอื่นๆ ให้มีความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่เขารู้อีกด้วย นับว่าเขาเป็นคนที่น่ายกย่อง สรรเสริญที่สุดคนหนึ่ง เมื่ออเมริกาได้รับอิสรภาพ เบนจามิน มฟรงคลินก็ได้รับการติดต่อให้เข้ารับตำแหน่งหน้าที่อันใหญ่โตผู้หนึ่งใน คณะผู้บริหาร แต่เขาก็ตอบปฏิเสธไปโดยเห็นว่าตัวเองอายุมากแล้ว และอยาก จะใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างสงบกับงานเขียนและงานพิมพ์ที่เขาชื่นชอบ เบนจามิน แฟรงคลินถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 17 เมษายน ค.ศ1790 ขณะมีอายุได้84 ปี


ผลงาน


-เป็นผู้ประดิษฐ์สายล่อฟ้า -เป็นผู้คิดวิธีการลดกรดของดินโดยการโรยปูนขาว



เซอร์ ฮัมฟรีย์ เดวีย์



 

ประวัติ


เซอร์ ฮัมฟรีย์ เดวีย์ เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ.1778 ที่เมืองคอร์นวอล ประเทศอังกฤษ หลังจากจบการศึกษาแล้วเขาได้ทำงานเป็นผู้ช่วยของอยุรแพทย์คนหนึ่ง ในสมัยนั้นการแพทย์ยังไม่เจริญก้าวหน้านัก โดยเฉพาะการผ่าตัด ในโรงพยาบาลยังไม่มียาใดที่จะระงับความเจ็บปวดของคนใข้ในขณะผ่าตัด ฮัมฟรีย์ เดวีย์จึ่งพยายามคิดค้นหาวิธีระงับความเจ็บปวดและเขาก็ได้ ค้นพบก๊าซชนิดหนึ่ง (คือไนตรัสออกไซด์) โดยการสูดเข้าไปโดยบังเอิญ และค้นพบว่าก๊าซนี้ทำให้เขาหมดสติไปชั่วขณะและพอตื่นขึ้นมาก็ไม่ได้ รับอันตรายแต่อย่างใดและยังรู้สึกสดชื่นอีกด้วย เขาจึงเรียกมันว่า "ก๊าซหัวเราะ" ซึ่งในเวลาต่อมาได้นำมาใช้เป็นยาสลบ นอกจากนั้นเขา ก็ทดลองสูดก๊าซชนิดต่างๆ เข้าไปจนเกิดอาการป่วยจึ่งต้องระงับ การทดลอง ชั่วคราว นอกจากการค้นพบก๊าซหัวเราะแล้ว เขายังเป็นคนแรกที่แยก องค์ประกอบของน้ำได้เป็นผลสำเร็จโดยการปล่อยกระแสไฟฟ้าให้ผ่าน เข้าไป ในน้ำ และแยกน้ำออกเป็นก๊าซได้ 2 อย่างคืออ๊อกซิเจนกับไฮโดรเจน เขาจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกกรรมวิธีสมัยใหม่ในการใช้ไฟฟ้า ในการทดลองทางเคมีเป็น คนแรก และในปี พ.ศ 2358 ฮัมฟรีย์ เดวีย์ก็ได้ประดิษฐ์ตะเกียงนิรภัย เพื่อใช้ในกิจการเหมืองเป็นครั้งแรก ซึ่งสิ่งประษฐ์ชิ้นสำคัญนี้เองที่ทำให้ ชื่อเสียงของเขาเป็นที่จด จำไปทั่วโลก โดยเฉพาะในหมู่ชาวหมืองถ่านหินเพราะในสมัยนั้นการ ขุดเหมืองถ่านหินนับเป็นการเสี่ยงอันตรายอย่างยิ่งเพราะลึกลงไป ในเหมืองนั้นจะมีก๊าซ ชนิดหนึ่งที่ชาวเหมืองเรียกว่า "ไฟอับ" แฝงอยู่ และมักจะเกิด ระเบิดอย่างรุนแรงเมื่อโดนกับเปลวไปจากตะเกียงน้ำมันที่คน งานใช้อยู่จากโศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นหลาย ครั้งนี้เอง ทำให้เจ้าของบ่อถ่านหินพากันร้องทุกข์ต่อฮัมฟรีย์ เดวีย์นักวิทยาศาสตร์ ผู้ยิ่งยงในสมัยนั้น ฮัมย์ฟรีย์ เดวีย์จึงเดินทางไปที่เมืองนิวคาสเซิล และค้นคว้าสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถป้องกันไม่ให้เปลวไฟจากตะเกียงน้ำมัน แลบไปถึงไฟอับในเหมืองได้ ในที่สุดก็ออกแบบโคมไฟป้องกันอันตราย ขึ้นแบบหยึ่ง ซึ่งให้แสง สว่างและมีตะแกรงลวดเส้นบางๆ ซึ่งจะขัดขวางและป้องกันเปลวไฟมิให้ แลบไปถึงไฟอับในเหมือง แลแม้ว่าก๊าซจะถึงเปลวไฟทางตะแกรง แต่พื้นผิวที่เย็นของตะแกรงจะป้องกันความร้อนของเปลวไฟมิให้ แลบไปถึงก๊าซข้างนอกได้ ก่อให้เกิดประโยชน์ทางอุตสาหกรรมถ่านหิน เป็นอันมาก และจากงาน ทางด้านไฟฟ้าเคมีและการค้นพบธาตุต่างๆ เป็นจำนวนมาก ได้ทำให้เขา มีชื่อเสียงไปทั่วโลก และได้รับแต่งตั้งเป็นขุนนาง (เซอร์) ในปี 1892 เซอร์ ฮัมฟรีย์ เดวีย์ถึงแก่กรรมที่เมืองเจนีวา เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม ค.ศ1829 เมื่อมีอายุได้ 51 ปี


ผลงาน


-เป็นผู้พบยาสลบที่ใช้ในทางการแพทย์ -เป็นผู้ประดิษฐ์ตะเกียงเจ้าพายุ ( ตะเกียงสำหรับให้แสงสว่าง สำหรับการขุดแร่ในอุโมงค์ )



จอห์น เบียร์ด



 

ประวัติ
จอห์น โลกี้ เบียร์ด เกิดในปีค.ศ.1888 เป็นบุตรชายของเสมียนที่เข้มงวด ในวัยเด็กเขามักจะเจ็บป่วยเสมอ และไม่ชอบไปโรงเรียนแต่กลับชอบประดิษฐ์ สิ่งต่างๆอาทิเช่นเครื่องร่อนที่ทำให้เขาบาดเจ็บเพราะตกจากหลังคาบ้านหลัง จากเรียนจบวิศวกรรมไฟฟ้าจากกลาสโกว์แล้วก็เข้าทำงานเป็นผู้ช่วยวิศวกร อยู่พักหนึ่ง ก็ต้องออกจากงานเพราะหยุดงานบ่อยครั่งเนื่องจากอาการป่วย จึงทำการหาเลี้ยงชีพโดยวิธีอื่น อาทิเช่นทำของขาย เช่น แยม และสบู่ แต่ก็ ประสบความล้มเหลว แรงบันดาลใจให้จอห์น เบียร์ด คิดสร้างโทรทัศน์ ก็เนื่องจากการที่กูกิเอลโม มาร์โคนีได้ประดิษฐ์เครื่องสัญญาณและรับสัญญาณ วิทยุทางไกลเป็นผลสำเร็จ ความคิดนี้ทำให้เบียร์ด จินตนาการถึงการส่งภาพ ด้วยคลื่น วิทยุขึ้นมาบ้างนักวิทยาศาสตร์หลายคนได้ค้นพบว่าเมื่อแสงตกลงบนวัตถุ ที่ไวต่อแสงที่เรียกว่า ซีเลเนี่ยม จะทำให้เกิดกระแสไฟฟ้าขึ้น ถ้าแสงสว่างมาก ขึ้นกระแสไฟฟ้าก็แรงขึ้นด้วย ภาพถ่ายที่ดีมักจะมีบริเวณสว่างและเงาที่มี ความเข้มต่างๆ กัน ดังนั้นถ้านำภาพถ่ายมาวางใกล้แผ่นซีเลเนียมและลำแสง ส่องไปยังภาพถ่ายและเคลื่อนที่ไปทั่วๆ ภาพ ส่วนสว่างและมืดของภาพจะทำให้ เกิดกระแสไฟฟ้ากำลังต่างๆ กันจากแผ่นซีเลเนียมวิธีการนี้เรียกว่า กวาดภาพจากนั้นกระแสไฟฟ้าจะป้อนไปยังเครื่องแปลงสัญญาณจับสัญญาณ เหล่านี้แล้วเปลี่ยนให้เป็นแสงอีก ทำให้เกิดภาพเดิมขึ้นอีก วิธีนี้เป็นการ ผลิตภาพนิ่งซึ่งเป็นวิธีที่หนังสือพิมพ์ได้รับภาพข่าวจากทั่วโลก แต่สำหรับ โทรทัศน์ภาพต้องมีการเคลื่อนไหว เราได้อ่านวิธีการทำให้เห็นภาพเคลื่อนไหว ในภาพยนตร์ที่ฉายบนจอโดยการฉายภาพหลายๆ ภาพติดต่อกันให้มีความเร็ว พอที่ตามนุษย์จะมองไม่เห็นรอยต่อระหว่างภาพทำให้เกิดความรู้สึกว่า เป็นภาพที่ต่อเนื่องในโทรทัศน์ก็ใช้วิธีการเดียวกันนั้น แต่มีปัญหาที่ว่าต้อง กวาดภาพไป และเปลี่ยนให้เป็นกระแสไฟฟ้าเปลี่ยนสัญญาณและเปลี่ยนกลับ เป็นภาพซึ่งต้องทำให้ได้ 20 ภาพต่อวินาที เพื่อให้เห็นภาพการเคลื่อนไหวนั้น ต่อเนื่องกัน เบียร์ดทำงานในห้องนอน เขาสร้างเครื่องโทรทัศน์เป็นเครื่อง แรกในปีค.ศ.1925 และกวาดภาพด้วยจานใบหนึ่งซึ่งเขาเจาะรูหลายๆ รูแล้ว หมุนจานอย่างเร็วบนแกนซึ่งใช้เข็มถักไหมพรม เขาฉายแสงไปบนจานที่ หมุนทำให้ส่องภาพไปตามลำดับและเปลี่ยนแสงเล่านั้น ให้เป็นกระแสไฟฟ้า ซึ่งจะถูกเปลี่ยนกลับให้เป็นภาพในเครื่องรับสัญญาณว่างอยู่ห่างจาก เครื่องส่งเพียง 1 เมตรกว่า หลังจากการทำงานนี้ไม่นานเขาก็เดินทาง ไปร้านเซลฟริดจ์ในลอนดอนแล้วสาธิตให้เจ้าของชม ในปีค.ศ.1925 เจ้าของร้าน ทำสัญญาจ้างให้เขาออกโทรทัศน์วันละ 3 รายการในร้านภาพที่เห็นไม่ชัดนัก แต่เครื่งก็ทำงานได้ และประขาสชนให้ความสนใจ ในปีต่อมาเขาสาธิตให้ หนังสือพิมพ์ชม จากนั้นเขาไปยัง บีบีซี และถึงแม้ว่าภาพของเขาจะไม่ ชัดเจนแต่บีบีซีก็ให้กำลังใจสนับสนุน ในปีค.ศ.1929 มีรายการโทรทัศน์ของบีบีซีส่งออกอากาศ และเริ่มถ่ายทอด การแสดงละครทางโทรทัศน์ในปีต่อมาได้มีการถ่ายทอดการแข่ง ม้าเดอร์บี้ทางโทรทัศน์ในกรุงลอนดอน จอห์น เบียร์ด ถึงแก่กรรมด้วย โรคไข้หวัดใหญ่ขณะที่เขากำลังคิดและพัฒนาในการส่งภาพเป็นสีในปีค.ศ.1946


ผลงาน


-เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องรับโทรทัศน์เครื่องแรกของโลก



เซอร์ ไอแซค นิวตัน



 

ประวัติ
เซอร์ไอแซค นิวตันเกิดเมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 1642 ที่ลินคอล์นเชียร์ อังกฤษมในสมัยที่เป็นเด็กไม่ค่อยสนใจในการเรียนนัก ชอบทางด้านเครื่องจักร เครื่องกล แต่พออายุได้ 15 ปี เขากลับเอาใจใส่การศึกษามากขึ้น พอบิดาของเขาถึงแก่กรรมลง มารดาก็ตั้งใจจะให้เขาทำงานในฟาร์มเหมือนบิดา แต่เขาไม่ชอบ นิวตันเป็นคนไม่ชอบเพื่อน ฉะนั้นเขาจึงมีเวลามากพอที่จะหมกมุ่นอยู่กับตำราเป็นส่วนใหญ่ เขาเริ่มคิดประดิษฐ์สิ่งแปลกๆ ใหม่ๆ ขึ้น เป็นต้นว่า โรงสีลมเล็กๆ ซึ่งใช้กำลังงานกระแสลมทำให้เครื่องจักรหมุน และสร้างนาฬิกาน้ำโดยให้หยดลงมาในถังแล้วสังเกตระดับน้ำที่เพิ่มขึ้นมา พอนิวตันจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เมื่อ ปี 1665 เขาก็ทำงานเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยนี้พอเกิด โรคระบาด มหาวิทยาลัยปิดชั่วคราว นิวตันจึงกลับไปทำงานส่วนตัวที่บ้าน ในช่วงเวลานั้นเป็นระยะที่เขาได้ความคิดเกี่ยวกับงานสำคัญของเขาในเวลา ต่อมาหลายเรื่อง เมื่อเขาทำงานเงียบๆ ด้วยตัวเอง คิดถึงสิ่งต่างๆ ที่เขาได้สังเกตและสามารถเห็นเหตุผลที่ทำให้เกิดขึ้น ซึ่งคนอื่นมองเห็นเป็นเรื่องธรรมดาเช่น การสัเกตการหล่นของผลแอปเปิ้ล ที่ให้เขาได้ความคิดเกี่ยวกับแรงโน้มถ่วง ซึ่งเป็นแรงดึงดูดทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกและเป็นแรงที่ทำให้ โลก ดวงจันทร์ ดาวเคราะห์ และต่างๆ อยู่ในระบบสุริยะ คนที่ไปมองเห็นสีของรุ้งกินน้ำในท้องฟ้า แต่นิวตันรู้และสามารถพิสูจน์ได้ว่า แสงที่เราเห็นว่า ไม่มีสีหรือที่เรียกว่ามีสีขาวเกิดจากสีรุ้งนั่นเอง นิวตันเป็นคนที่อ่อนไหว เขาไม่ชอบการขัดแย้งกัน และมักจะโกรธต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ เขาไม่ได้ตี พิมพ์เรื่องแรงโน้มถ่วงเป็นเวลาหลายปี ในระหว่างนั้นเขาได้ศึกษาวิธีที่สร้างกล้องโทรทรรศน์ และเมื่อเขากลับไปเคมบริดจ์ เขาได้สร้างกล้องโทรทรรศน์แบบใหม่ แบบมีตัวสะท้อนแสง แล้วกล้องโทรทรรศน์นี้ ทำให้เขามีชื่อเสียงและได้รับเชิญให้เข้าร่วมในราชสมาคมชั้นนำของนักวิทยาศาสตร์ในประเทศอังกฤษ แต่โรเบิร์ต ฮุค ซึ่งเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสมาคมได้วิจารณ์ความคิดของเขาเกี่ยวกับธรรมชาติของแสง นิวตันและฮุคจึงไม่เคยเป็นเพื่อนที่ดีต่อกันอีกเลย นิวตันยังมีความสนใจในสิ่งนอกเหนือไปจากวิทยาศาสตร์ เขาได้เป็นสมาชิกรัฐสภาในช่วงเวลาสั้นๆ จากนั้นในปี 1699 เขาก็ได้เป็นหัวหน้ากองกษาปณ์ของราชสำนัก ซึ่งผลิดเหรียญที่ใช้กันในประเทศถึงแม้ว่าเขาจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ที่สำคัญ แต่เขาก็มีความคิด บางอย่างที่แปลกประหลาด เช่น เขาเชื่อในเรื่องโหราศาสคร์ เชื่อในทฤษฏีที่ดวงดาวมีอิทธิพลต่อโชคชะตาของคน เขาได้ศึกษาเกี่ยวกับการเล่นแร่แปรธาตุ ซึ่งเชื่อกันว่าจะสามารถเปลี่ยนโลหะเช่น ทองแดงให้เป็นทองได้ ในสมัยของนิวตัน ผู้คนมีเชื่อกันเช่นนี้มาก ซึ่ง ในปัจจุบันเราทราบว่าเป็นเรื่องไร้สาระ ไอแซค นิวตัน เป็นบุคคลที่มุ่งทำประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าชีวิตของตนเอง เขามีความสุขอยู่กับการทดลอง วิทยาศาสตร์และการคำนวณภายในห้องทดลองของเขายิ่งกว่าอื่นใด เขาได้รับพระราชทานบรารดาศักดิ์เป็นท่าน " เซอร์"เมื่อมีอายุร่วม 60 ปีแล้วเซอร์ ไอแซคนิวตัน ถึ่งแก่กรรมเมื่ออายุได้ 84 ปี และถูกฝังในสุสานวิหารเวสมินสเตอร์ ซึ่งในปัจุบันนี้มีอนุสาวรีย์ของเขาตั้งอ่ยู่ แม้ว่ามทุกคนจะระลึกถึงเขาว่าเป็น บุคคลสำคัญคนหนี่ง แต่ตัวเขาเคยพูดว่า ฉันมองได้ไกลกว่าคนส่วนใหญ่ก็เพราะฉันยืนอยู่บนไหล่ของยักษ์


ผลงาน


-เป็นผู้พบแรงดึงดูดของโลก -เป็นผู้สร้างกล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง