วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

นักวิทยาศาสตร์ไทย

 

ศาสตราจารย์ ดร. วิรุฬห์ สายคณิต

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ.2525 สาขาฟิสิกส์ ท่านเป็นผูเสนอทฤษฎีใหม่ที่อธิบายพฤติกรรม การเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในสิ่งแวดล้อม ที่ไร้ระเบียบ ซึ่งนำความเข้าใจถึงคุณสมบัติต่างๆ ของสสารจำพวกอสัณฐานกึ่งตัวนำ สารผลึกกึ่งตัวนำที่มีสิ่งเจือปนสูง ฯลฯ อันเป็นการก่อให้เกิดการวิวัฒนาการ ในวงการอิเล็กทรอนิกส์ เพราะสารเหล่านี้มีประโยชน์ในการผลิตแสงเลเซอร์ เซลล์แสงอาทิตย์ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ

 

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเวศ วะสี


นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ.2526 สาขาชีววิทยา(พันธุศาสตร์) ท่านเป็นผู้ค้นพบกลไกทางพันธุศาสตร์ ของโรคแอลฟ่าธาลัสซีเมีย โดยพบว่ามียีนส์แอลฟ่าธาลัสซีเมีย 2 ชนิด และได้ให้ชื่อว่า แอลฟ่าธาลัสซีเมีย 1 และ แอลฟ่าธาลัสซีเมีย 2




ศาสตราจารย์ ดร. ยงยุทธ ยุทธวงศ์

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2527 สาขาชีวเคมี ค้นพบการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง และคุณสมบัติหลายประการของเยื่อหุ้มเม็ดเลือดแดง ที่ติดเชื้อมาลาเรีย และความเกี่ยวโยงระหว่างการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ กับอาการของโรคนี้ทางโลหิตวิทยา ค้นพบเอนไซม์ใหม่ และวิถีปฎิกิริยาใหม่ของเชื่อมาลาเรีย โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับการสังเคราะห์ และ ใช้สารโฟเลต อันเป็นแนวทางในการพัฒนายาต้านมาลาเรียใหม่ๆ



ศาสตราจารย์ ดร. ม.ร.ว.พุฒิพงศ์ วรวุฒิ

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2527 สาขาสรีรวิทยาการสืบพันธุ์ ค้นพบว่าเออร์กอตอัลคาลอยด์ มีผลห้ามการฝังตัวของบลาสโตซิส ในหนูขาว โดยไม่ไปทำอันตรายต่อบลาสโตซิสโดยตรง แต่ไปห้ามการหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง ที่ทำหน้าที่กระตุ้นรังไข่ให้สร้างโปรเจสเตอโรน นับเป็นข้อมูลพื้นฐานที่สำคัญ อันนำไปสู่การเข้าใจกลไก การทำงานของสารประเภทนี้ที่ระดับสมอง ส่วนไฮโปธาลามัส จนถึงขั้นพัฒนามาใช้ในการห้ามหลั่งโฮร์โมนโปรแลกติน และห้ามอาการน้ำนมไหล นอกจากนี้ยังพบว่า ฮอร์โมนเพศชายชนิดแอนโดรเจน สามารถกระตุ้นการฝังตัวของบลาสโตซิสได้ เช่นเดียวกับ ฮอร์โมนอีสโตรเจน


ศาสตราจารย์ ดร. สกล พันธุ์ยิ้ม

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2528 สาขาชีวเคมี (พันธุวิศวกรรม) ค้นพบยีนส์โปรตีนสารพิษฆ่าลูกน้ำ จากแบคทีเรียและการศึกษาโครงสร้างที่ลำดับนิวคลีโอไทด์ จนทราบลำดับของกรดอะมิโนที่ออกฤทธิ์ ฆ่าลูกน้ำยุง ค้นพบชิ้นดีเอ็นเอ ชนิดจำเพาะต่อพันธุ์ของยุงก้นปล่อง จนนำมาใช้จำแนกพันธุ์ยุงก้นปล่องได้อย่างง่ายๆ การค้นพบทั้งสองเป็นแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพ การควบคุมยุงพาหะนำโรค.



ศาสตราจารย์ ดร. ยอดหทัย เทพธรานนท์

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2529 สาขาเคมี ค้นพบสารใหม่ในกลุ่ม Cyclohexene Epoxdes ซึ่งสกัดได้จากต้นไม้สกุล ยูวาเรีย ทำให้เข้าใจกลไกที่มีผู้เสนอขึ้นมา ค้นพบปฎิกิริยาอันนำไปสู่การสังเคราะห์สารหลายชนิด ในตระกูล Cyclopentenoid anitbiottics เช่น ซาร์โคมัยซิน เมทธิลิโนมัยซิน เอ และ บี ตลอกจนการสังเคราะห์ไดออสไพรอล อันเป็นสารออกฤทธิ์ถ่ายพยาธิในลูกมะเกลือ



ศาสตราจารย์ ดร. สุทัศน์ ยกส้าน

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2530 สาขาฟิสิกส์ทฤษฎี สร้างทฤษฎีอธิบาย สมบัติพื้นฐานบางประการของสภาพนำยิ่งยวด โดยเฉพาะในด้านที่เกี่ยวกับ อุณหภูมิวิกฤตความร้อนจำเพาะ และฟังก์ชั่นคลื่นของตัวนำยิ่งยวดขณะมีสารเจือ ที่มีคุณสมบัติเป็นแม่เหล็ก และไม่เป็นแม่เหล็กชนิดต่างๆ และได้ตั้งทฤษฎีอธิบายสมบัติบางประการของระบบ ที่ประกอบด้วยตัวนำ ยิ่งยวดประกอบกับตัวนำปกติอีกด้วย




ศาสตราจารย์ ดร. สถิตย์ สิริสิงห์

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2531สาขาจุลชีววิทยา พบว่าการขาดวิตมินเอในสารอาหาร ทำให้ภูมิคุ้มกันเฉพาะแห่งเสียไป เนื่องจากไม่สามารถแสดงออกได้ในลำไส้ และเนื้อเยื่อต่างๆ และได้พัฒนาวิธีวินิจฉัยโรคเขตร้อนหลายอย่าง ด้วยวิธีการทางอิมมิวโนวิทยา




ศาสตราจารย์ ดร. ถาวร วัชราภัย

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2532 สาขาพฤกษศาสตร์ พบการเกิดลักษณะใหม่ของดอกกล้วยไม้ ที่เกิดขึ้นเนื่องจากการผันแปรของเซลล์ร่างกาย ในต้นที่ขยายพันธุ์โดยอาศัยเพศ ด้วยวิธีการเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นคนแรกที่รายงานปรากฎการณ์ดังกล่าว ในพืชโตเต็มวัย เมื่อ ปี พ.ศ. 2515 ตั้งแต่น้นเป็นต้นมาจนถึงทุกวันี้ มีผู้ใช้วิธีดังกล่าวเพื่อสร้างพืชพันธุ์ใหม่ๆ อีกมาก



ศาสตราจารย์ สดศรี ไทยทอง

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2533 สาขาสัตววิทยาได้ทำการ แยกสายพันธุ์บริสิทธิ์ของเชื้อไข้มาลาเรียชนิด พลาสโมเดียม ฟัลซิปารัม และพบว่าในผู้ป่วยบางราย มีเชื้อไข้มาลาเรียอยู่หลายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์จะมีคุณลักษณะเชิงพันธุกรรมแตกต่างกัน และสามารถชักนำสายพัฯธุ์ที่ไวต่อยา ทำให้เกิดการดื้อยาในหลอดทดลองได้ ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการศึกษา หาข้อมูลทางชีวเคมี และพันธุกรรมของเชื้อมาลาเรีย



ศาสตราจารย์ ดร. วิสุทธิ์ ใบไม้

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2533 สาขาชีววิทยา (พันธุศาสตร์)   ค้นพบยุงก้นปล่องชนิดพาหะชนิด Anopheles dilus เป็นกลุ่มสปีชีส์ซับซ้อนที่พบในประเทศไทย มีอยู่ 5 ชนิด ซึ่งมีแบบแผนการแพร่กระจายความหลากหลาย ทางพันธุกรรม แหล่งที่อาศัยและพฤติกรรมแตกต่างกันอย่างชัดเจน แต่ละชนิดมีสมบัติเป็นพาหะนำเชื้อไข้มาลาเรีย ได้แตกต่างกันซึ่งอาจจะเกี่ยวโยงกับความแตกต่าง แปรผันทางพันธุกรรม อันเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาหาแนวทางการควบคุม การะบาดของไข้มาลาเรีย โดยวิธีพันธุศาสตร์



ศาสตราจารย์ ดร. ไพรัช ธัชยพงษ์

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2534 สาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ค้นพบวิธีออกแบบวงจรกรองดิจิตัล ชนิดรีเคอร์ซีฟ โดยการใช้โปรแกรม เชิงเส้น ทำให้เกิดความหลากหลายของรูปแบบ และคุณลักษณะการตอบสนองความถี่ขนาดของวงจร ค้นพบการออกแบบของวงจรกรองชนิดรีเคอร์ซีฟ ให้คุณสมบัติการตอบสนองความถี่ชนิด นันรีเคอร์ซีฟขนาดเรียบที่สุด และกำหนดจุดตัดความถี่ได้ ค้นพบวงจรที่สามารถวัดทิศทางและระยะทางได้ ค้นพบวงจรกรองอานาล็อกที่ประหยัด ชิ้นส่วนในการผลิต และมีความคงทนต่อการเปลี่ยนแปลง ของค่าชิ้นส่วนดังกล่าว




ศาสตราจารย์ ดร. อมเรศ ภูมิรัตน

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2535 สาขาเทคโนโลยี่ชีวภาพ ทำการวิจัยอย่างลึกซึ้งเกี่ยวกับการถ่ายทอดยีนส์แบบ   Conjugation-like ในแบคทีเรียชนิด Bacillus thuringiensis ซึ่งรวมถึงขบวนการแยก และหาลำดับยีนส์ของ S-layer โปรตีนในแบคทีเรียชนิดนี้ด้วย ผลการวิจัยดังกล่าวได้นำไปสู่แนวทางการพัฒนา และการสร้างสายพันธุ์ใหม่ๆของ B.thuringiensis ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ในการใช้แบคทีเรียชนิดนี้ควบคุมแมลงศัตรูพืช และแมลงพาหะของโรค นอกจากนี้ยังได้วิจัยเกี่ยวกับขบวนการ เพาะเลี้ยงเซลล์แบบวนกลับ จนสามารถนำไปสู่ขบวนการผลิต B.thuringiensis ซึ่งมีศักยภาพสูงขึ้นกว่าเดิมที่ใช้กันอยู่



ศาสตราจารย์เกีรติคุณ ดร. ณัฐ ภมรประวัติ

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2536 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ศึกษาพยาธิวิทยาของโรคพยาธิใบไม้ในตับจ นสุรปได้ว่า สาเหตุของการเกิดระเร็งท่อน้ำดี ซึ่งพบกันมากในผู้ป่วยโรคพยาธิใบไม้ในตับ อาจมาจากการที่สารก่อมะเร็ง ที่อยู่ในอาหารไปกระตุ้นเซลล์ของระบบท่อน้ำดี ซึ่งถูกรบกวนจากพยาธิใบไม้เป็นเวลานานๆ และได้ศึกษาวิทยาศาสตร์พื้นฐานในด้านอิมมิวโน พยาธิวิทยาของโรคไข้เลือดออกในเด็ก ซึ่งได้ผลงานที่มีศักยภาพในการนำไปประยุกต์ ใช้ในการรักษาผู้ป่วย และการป้องกันโรคได้ในอนาคต




ศาสตราจารย์ นายแพทย์อารี วัลยะเสวี

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2537 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องทางด้านโภชนาการ โดยเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับการเกิดนิ่ว ในกระเพาะปัสสวะ ซึ่งได้ค้นพบว่าเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมี อันเนื่องมาจากอาหาร โดยมีสาเหตุมาจากการขาดสารฟอสฟอรัสในอาหาร และการเพิ่มขึ้นของของปริมาณสารออกซาเลท ที่มาจากอาหารท้องถิ่น ซึ่งเป็นตัวผลึกสำคัญในก้อนนิ่ว ผลการวิจัยนำไปสู่การป้องกันโรคนิ่ง โดยการให้เกลือฟอสเฟต ในระดับชุมชนจนสำเร็จ โดยการผสมผสานงานวิจัยด้านพฤติกรรมศาสตร์ เข้ากับงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี เพื่อแก้ปัญหาด้านสุขภาพอนามัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาด้านโภชนาการ




ศาสตราจารย์ นายแพทย์วิศิษฎ์ สิตปรีชา

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2537 สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ ได้ศึกษาพยาธิสรีรวิทยา สำหรับโรคไตในเมืองร้อน ซึ่งเกี่ยวกับโรคติดเชื้อพิษของพืชและสัตว์ และสิ่งแวดล้อม งานวิจัยครอบคลุมโรคเล็ปโตสไปโรสิส มาลาเรีย ทริคิโนสิส เมลิออยโดสิส ดีซ่านจากพยาธิตับ มะเร็งท่อน้ำดี พิษจากงูแมวเซา และปัญหาทางแพทย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นปัญหาทางเมตาบอลิก ที่เกี่ยวโยงกับการขาดโปรแตสเซี่ยม และการทำงานที่ผิดปกติของเอนไซม์ ผลการวิจัยทำให้สามารถ ใช้ในการรักษาและป้องกันโรคได้




ศาสตราจารย์ ดร. ประเสริฐ โศภณ

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2538 สาขาเซลล์ชีววิทยา งานวิจัยกลุ่มแรกได้ศึกษาถึงกายวิภาค สรีรวิทยา และอิมมิวโนวิทยาของชั้นผิวของพยาธิใบไม้ เลือดและพยาธิใบไม้ตับ ในคนและสัตว์เลี้ยง นำไปสู่การพัฒนาในการตรวจ การติดเชื้อพยาธิใบไม้ในเลือดคน และพยาธิใบไม้ตับในสัตว์เลี้ยง ซึ่งจะเป็นปรพโยชน์ในการตัดสินใจใช้ยารักษาที่ถูกต้อง ส่วนงานวิจัยอีกกลุ่มหนึ่งเป็นการศึกษาการขดเรียงตัว ของเส้นใยโครมาติน การสร้างและการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนขั้นพื้นฐาน ในนิวเคลียสของเซลสืบพันธุ์เพศชาย ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และสัตว์อื่นๆ ซึ่งเป็นพื้นฐานต่อความเข้าใจ สรีรวิทยาการสืบพันธุ์ การปฎิสนธิ และการพัฒนาร่างกายของสัตว์ชั้นสูง





ศาสตราจารย์ ดร. วัลลภ สุระกำพลธร

นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ปี พ.ศ. 2539 สาขาฟิสิกส์เชิงคณิตศาสตร์ ค้นพบและเสนอหลักการใหม่ ของการออกแบบวงจรรวมเชิงเส้น ที่ประยุกต์ในระบบประมวลผลสัญญานอานาล็อก แบบโหมดกระแส และเหมาะสมกับการสร้างเป็นไอซีด้วยมอสเทคโนโลยี และไบโพลาร์เทคโนโลยี โดยเฉพาะการคิดค้น และเสนอแนวคิดของวงจรสายพาน กระแสปรับค่าขยายด้วยอิเล็กทรอนิกส์



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น